ทวีปเอเชียเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในทวีปเอเชียแผ่ขยายเจริญรุ่งเรืองและมีรากฐานอันมั่นคงในทวีปเอเชียในเบื้องต้น จึงนับได้ว่าทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคแรกที่ได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาโดยตรง จุดเริ่มต้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชียที่มีหลักฐานชัดเจนเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๓ ภายหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ๑) พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง และยังประโยชน์สุขแต่ชาวอินเดียเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ร่องรอยการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาในอินเดียก็ได้ปรากฏขึ้น อย่างไรก็ตามในยุคการกอบกู้อิสรภาพของอินเดีย พระพุทธศาสนาได้กลับมาเจริญขึ้นในอินเดียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีบุคคลหลายท่านที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของพระพุทธศาสนาที่มีต่อมวลมนุษยชาติ ดังต่อไปนี้ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ชาวอังกฤษในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย ท่านได้นำให้มีการสำรวจแหล่งโบราณสถานโบราณวัตถุและศิลปกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนานับได้ว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกการขุดค้นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียต่างพากันหันมาสนใจมรดกอันเป็นผลผลิตทางความคิด และความเพียรพยายามของชาวอินเดีย ทำให้เกิดการรื้อฟื้นการเรียนรู้พระพุทธศาสนาขึ้นในหมูปัญญาชนชาวอินเดีย เวอร์เอ็ดวินอาร์โนลด์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ท่านได้เขียนงานพุทธประวัติขึ้น มีชื่อว่า “ประทีปแห่งเอเชีย” (The Light ofAsia) ทำให้เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๔ อนาคาริก ธรรมปาละ ชาวลังกาผู้มีความศรัทธา และมีความปรารถนามุ่งมั่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้ก่อตั้ง “แห่งโพธิสมาคมขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของเหล่าปัญญาชนชาวอินเดียและกัลยาณมิตรชาวต่างชาติผู้มีความและห่วงใยในพระพุทธศาสนา มหาโพธิสมาคมได้กลายเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย โดยการจัดให้มีพิธีกรรม บรรยายธรรม ปาฐกถาธรรม รวมทั้งการออกนิตยสารภาคภาษาอังฤษชื่อว่า “มหาโพธิรีวิว” เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ในยุคหลังของการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ได้มีชาวอินเดียที่มีบทบาทสำคัญท่านหนึ่งคือ ดร.เอ็มเบดการ์ เป็นแกนนำชาวอินเดียวรรณศูทรประกาศปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งผู้นำชาวอินเดียท่านอื่นๆ แม้มิใช่พุทธศาสนนิกชนแต่ก็ให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ปัจจุบันจึงทำให้ชาวอินเดียประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนงานพระพุทธศาสนาด้วยการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสนับสนุนพุทธศาสนิกชนต่างประเทศในการสร้างวัดขึ้นในอินเดีย เพราะชาวอินเดียโดยทั่วไปต่างระลึกเสมอว่า พระพุทธเจ้าคือบุคคลผู้นำเกียรติภูมิอันสูงส่งมาสู่อินเดีย ๒) พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ประเทศศรีลังกานับได้ว่าเป็นดินแดนที่ประชาชนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงเรื่อยมา พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศรีลังกาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖ – ๒๘๗ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระมหินทเถระไปเป็นพระธรรมทูตประจำศรีลังกาในสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระมหากษัตริย์ศรีลังกา และภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญอย่างแพร่หลายแม้การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๔ ก็ได้กระทำกันที่เมืองอนุราธบุรี ประเทศศรีลังกา ในประเทศอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ยกย่องพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติอินเดียในอดีต ในประเทศศรีลังกา พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะก็ทรงประกาศรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประ จำชาติศรีลังกาเช่นเดียวกันและพระพุทธศาสนายังคงเป็นศาสนาประจำชาติของศรีลังกาสืบต่อเรื่อยมาแม้ในปัจจุบัน

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ช.อนุวัฒน์ โคจรานนท์ ม.3/5 เลขที่ 4
2.ด.ช.สิทธิชัย คามกระสบ ม.3/5 เลขที่ 5
3.ด.ช.เกียรติศักดิ์ เวกสันเทียะ ม.3/5 เลขที่ 8
4.ด.ช.สมิทธิ จันมโนวงษ์ ม.3/5 เลขที่ 15
5.ด.ช.ธีรทัศน์ แดงคำ ม.3/5 เลขที่ 16

6.ด.ญ.เขมจิรา บุญเลิศ ม.3/5 เลขที่ 17
7.ด.ญ.รุ่งอรุณ สุดทำนอง ม.3/5 เลขที่ 24
8.ด.ญ.ธิดารัตน์ ก่อสัตย์ ม.3/5 เลขที่ 26
9.ด.ญ.เกษกนก โฉมทัพย์เย็น ม.3/5 เลขที่ 35