การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก

บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสอง รองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปของศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชเริ่มนับ ๑ ถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย และเนปาล โดดยเริ่มขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) จากวันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับ


เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ดังนี้


สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน


สายที่ ๒ พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย


สายที่ ๓ พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย


สายที่ ๔ พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์


สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย


สายที่ ๖ พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี


สายที่ ๗ พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล


สายที่ ๘ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น


สายที่ ๙ พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ช.พงษ์ศักดิ์ เรียงความดี เลขที่.15
2.ด.ญ.สิริยากร ศิริทรัพย์ เลขที่.21
3.ด.ญ.ณัฐวิกา ดิลกชาติ เลขที่.23
4.ด.ญ.ทรรศนีย์ มีแฟง เลขที่.24
5.ด.ญ.วรรณวิสา รักพันธิ์ เลขที่.27
6.ด.ญ.สุวิมล มังกร เลขที่.28
7.ด.ญ.สุภาพร บุญมี เลขที่.29
8.ด.ญ.รัตนากร ทัศนัย เลขที่.33
9.ด.ญ.วรรณนิสา เรืองสมบัติ เลขที่.35
10.ด.ญ.กวทรา ขวากุพันธ์ เลขที่.36
11.ด.ญ.สุธิดา แจ่มจำรัส เลขที่.41