การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูฏาน

ประวัติยุคเริ่มต้น

ช่วง พ.ศ. 1200 พระเจ้าจักกยาลโป สู้รบกับพระเจ้านวเช ทางตอนใต้ของภูฏาน ทำให้พระโอรสของพระเจ้าจักกยาลโปสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระองค์จึงเลิกบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่ช่วยชีวิตพระโอรสของพระองค์ไว้ จากนั้นพระองค์ก็ประชวร เนื่องจากหัวหน้าภูติผีปีศาจจับวิญญาณของพระองค์ไว้ พระปัทมสัมภวะ ได้เดินทางมาจากเนปาลเพื่อช่วยปราบผีให้ โดยท่านขอ "ซุงมา" หรือตันตระเทวี ช่วยเหลือท่านในการปราบผี พระเจ้าจักกยาลโปจึงได้พระราชทานพระธิดาผู้มีลักษณะแห่ง "ฑากิณี" 21 ประการ จากนั้นท่านปัทมสัภวะจึงนำนางไปยังวัชรคูหา เพื่อทำพิธี 21 วัน ต่อมานางก็ได้ชื่อว่า "มาซิกพุมเดน" คือพระแม่องค์เดียวที่สามารถจะช่วยท่านบำเพ็ญศาสนกิจได้เป็นอย่างดี ดังนั้นพุทธศาสนาในภูฏาน จึงเป็นวัชรยาน เนื่องจากได้รับจากทิเบตโดยตรง


กำเนิดนิกายดรุกปะกัคยุ

จากนั้นมา ปี พ.ศ. 1763 ลูกศิษย์ของอาจารย์สังปกยาเล เมืองดรุกราลุง ได้มาเผบแผ่หลักธรรม "นิกายดรุกปะกัคยุ"ในภูฏาน ในระหว่างทาง ท่านได้ปราบปีศาจที่ทำให้จามรีตัวหนึ่ง ออกลูกมีศีรษะเป็นงูได้สำเร็จ ชาวบ้านจึงเลื่อมใส และให้ท่านสอนหลักธรรมให้ จากนั้นท่านได้ไปเมืองทิมพู ท่านได้พบสตรีวัย 21 ปี ซึ่งมีลักษณะฑากิณี 21 ประการ จึงได้แต่งงานกับนาง แล้วพานางไปอยู่ที่ทิมพู มีบุตรชาย 5 คน บุตรี 1 คน ระหว่างนั้นท่านก็ได้สอนหลักธรรม และการปราบปีศาจ จนลูกชายได้ครองเมืองทั้ง 4 เป็นผู้นำศาสนจักร และอาณาจักรดั่งทิเบต และสร้าง ซอง สถานที่สัคัญประจำเมืองตน ท่านมรณภาพด้วยยาพิษของลูกศิษย์ลามะลักปะ คู่อริเก่าส่งมาแก้แค้น


ท่านงาวังนัมเยล

ปี พ.ศ. 2112 ท่านงาวังนัมเยล ผู้นำนิกายดรุกปะกัคยุ เป็นอวตารของคุงเกนปัทมะการ์โป ระหว่างการนั่งสมาธิ 3 ปี มีรูปปั้นบิดา และเทพเจ้าปรากฏตัว และบอกให้ท่านรวบรวมอาณาจักรภูฏาน ให้เป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นจึงได้เดินทางมายังภูฏาน ระหว่างทาง กอนวังโซเลม ผู้ครองนครกลาสา นิมนต์ให้ท่านสอนหลักธรรมและอวยพรให้ชาวเมืองของตน จากนั้นท่านก็ได้เดินทางต่อมายังทิมพู มีเทพเคนเยชาบามิเลนปรากฏตัวมาบอกท่านว่า ภูฏานต้องการให้ท่านอยู่เพื่อป้องกันศัตรูรุกราน ท่านเดินทางไปยังพาโรแล้วสอนหลักธรรมนิกายดรุกปะกัคยุอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีท่านสังเดสีโชนัมเยลที่เคยมาแย่งพระบรมสารีริกธาตุยกพลมารุกราน แต่ก็พ่ายแพ้ไปอย่างราบคาบ ชาวเมืองกล่าวว่ามีเทพช่วยบัญชาการรบ และก็เห็นงาวังนัมเยลออกบัญชาการรบขณะนั่งสมาธิ มีฝูงแร้งรอบินกินซากศพของทหารฝ่ายข้าศึก จากนั้นท่านก็ได้มอบทังคุซองจากท่านเทวังเทนซิน ท่านก็ได้ถวายพระอวโลกิเตศวร แกะสลักด้วยไม้จันทน์ตอบแทน รูปแกะสลักนี้ศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ท่านสามารถรวบรวมเมืองน้อยใหญ่ได้ จนได้ฉายาว่า ซับดรุง ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ทุกคนต้องยอมสิโรราบให้ จากนั้นก็ได้วางรากฐานการปกครองของภูฏานด้วยกฎหมายทางพุทธจักร และทางอาณาจักร เนื่องจากมีอำนาจทั้งสองด้าน ท่านได้สร้างสถานที่สำคัฐไว้หลายแห่งเช่น พูนาคาซอง (สถานที่ประกอบพิธีสถาปนาสังฆราช) เป็นต้น ส่วนกษัตริย์เนปาล ซึ่งเลื่อมใสได้ถวายสถูปโพธินาถ และสถูปสวยัมภูวนาถ ครั้งหนึ่งที่พระองค์ได้ไปสร้างซองที่ชื่อว่า "ซิมโทกาซอง"


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชายเกริกพันธ์ มาทา เลขที่2
2.เด็กชายธนภัทร กินูน เลขที่3
3.เด็กชายเกียรติศักดิ์ แนวบุตร เลขที่5
4.เด็กชายวรกันต์ แก่นไทย เลขที่9
5.เด็กชายอาทิตย์ ลาสร้อย เลขที่11
6.เด็กชายกรนิศ จอมเพ็ง เลขที่12
7.เด็กหญิงชาคริยา ยอดดี เลขที่20
8.เด็กหญิงรัตนาภรณ์ แก้วศรี เลขที่27
9.เด็กหญิงนภสร ขันทอง เลขที่34
10.เด็กหญิงปรียานุช บุญลือ เลขที่35
11.เด็กหญิงสุดารัตน์ สิงห์สัตย์ เลขที่42