การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังอินเดีย
ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระพุทธศาสนาได้มีความเจริญรุ่งเรืองไปในแคว้นต่างๆ โดยในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทรงอุปถัมภ์การสังคายนา พระธรรมวินัยครั้งที่ 3 รวมทั้งได้ทรงส่งคณะธรรมทูต 9 สายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศต่างๆ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตแล้ว อาณาจักรมคธเริ่มแตกแยก พราหมณ์ชื่อสุงคะ ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์พระ นามว่า พระเจ้าปุษยมิตร ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธศาสนาถูกทำลาย จากกษัตริย์ต่างศาสนา แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนส่วนอื่นๆ ของอินเดีย
หลัง พ.ศ. 620 เผ่าสกะ(ชนเผ่าเร่ร่อนจากเอเชียกลาง) ได้เข้ายึดครองอินเดีย กษัตริย์พระองค์หนึ่ง นามว่า พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ (พ.ศ. 621-พ.ศ 644) ทรงเลื่อใสในพระพุทธศาสนามากจนได้รับการ ขนานนามว่า ”พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2 ” โปรดให้สังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 4 ทรงแผ่อาณาจักรครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ มัธยประเทศ (ครอบคลุมเอเชียกลางในปัจจุบัน) สมัยนี้พระพุทธศาสนาจึงเผยแผ่เข้าสู่ เอเชียกลาง และจีน ปลาย พ.ศ. 900 การศึกษาทางพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เกิดมหาวิทยาลัยทาง พระพุทธศาสนาถึง 7 แห่ง ที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยนาลันทา