การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังเยอรมนี

ชาวเยอรมันความสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ (Dr.Karl Seidenstuecker) ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนีและส่งเสริมการศึกษาทางวิชาพระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมันตะวันตกดำเนินการโดยเอกชน มีการจัดพิมพ์วารสารและจุลสารออกเผยแพร่ นอกจากนี้ก็มีการจัดปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ถึง ๖ ชั่วอายุคน คือ หนังสือพุทธวจนะ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน โดยพระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก ฉายาว่า ท่านญาณดิลก หนังสือเล่มนี้ได้รับได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอย่างมากมาย และถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นๆ กว่า ๑๐ ภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชาย อนุพงษ์ บัวแดง ชั้น ม.3/4 เลขที่ 3
2.เด็กชาย นันทนากร นันทจันทร์ชั้น ม.3/4 เลขที่ 4
3.เด็กหญิง พัชราภรณ์ สุทธสน ชั้น ม.3/4 เลขที่ 20
4.เด็กหญิง พิมพรรณ หมายชัย ชั้น ม.3/4 เลขที่ 23
5.เด็กหญิง นิภาพร อารีชาติ ชั้น ม.3/4 เลขที่ 25
6.เด็กหญิง ทัศนาวดี โสประดิษฐ์ ชั้น ม.3/4 เลขที่ 27

7.เด็กหญิง สุพัฒตรา จักรษา ชั้น ม.3/4 เลขที่ 31
8.เด็กหญิง ณิชาภัสสร ดอนหม้อ ชั้น ม.3/4 เลขที่ 34
9.เด็กหญิง เขมิกา สุกคง ชั้น ม.3/4 เลขที่ 35
10.เด็กหญิง สุธิดา ตั๋นตาถา ชั้น ม.3/4 เลขที่ 38
11.เด็กหญิง ไปรยา พัสถาน ชั้น ม.3/4 เลขที่ 42