พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในสมัยจักรพรรดิคินเมเป็นอย่างมากแต่ที่ปรึกษาฝ่ายทหารและฝ่ายชินโตในยุคนั้นไม่เห็นด้วยกับองค์จักรพรรดิคินเม ฝ่ายไม่เห็นชอบพยายามขัดขวางการเผยแพร่ศาสตร์ทางพุทธเป็นสาเหตุสำคัญที่พุทธศาสนาไม่เผยแผ่กว้างขวางไปในทุกหมู่ชนชั้น และภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาปล่อยให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง กลางพุทธศตวรรษที่ 12 รัชสมัยจักรพรรดิโยเม จักรพรรดิองค์ที่ 31 ได้ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูป ยากุชิเนียวไร หรือ พระไภษัชยคุรุ (ญี่ปุ่น: 薬師如来 Yakushi Nyorai , バイシャジヤグル Bhaisajyaguru)) ต่อมารัชสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 33 จักรพรรดินีซุอิโกะ ทรงได้ตราพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้ยึดถือเป็นนโยบายของราชอาณาจักร ประกอบกับขณะนั้นเจ้าชายโชโตกุผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ได้พิจารณาเห็นว่าพุทธศาสนาเป็นแหล่งความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา พระองค์ได้ส่งเสริมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในทุกวิถีทาง เมื่อ พ.ศ. 1135 เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้วางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้างสรรค์วัฒนธรรมพร้อมทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1177 พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้าราชการทหารและพลเรือนทั้งปวงต่างแข่งขันกันสร้างวัดในพระพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ จากการที่เจ้าชายโชโตกุได้ทรงประกาศ ธรรมนูญ 17 มาตรา ซึ่งเป็นธรรมนูญที่ประกาศหลักสามัคคีธรรมของสังคม ในงานด้านศาสนาและพระคัมภีร์แม้แต่ตัวเจ้าชายเองก็ได้ทรงงานเกี่ยวกับพระสูตรเขียนอรรถกถาอธิบายไว้ 3 เล่มด้วย นอกจากนี้เจ้าชายทรงได้ส่งคณะทูตและเหล่านักศึกษาไปยังจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อศึกษาค้นคว้าหลักธรรมของพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมอื่น ๆ เพื่อยังประโยชน์ที่จะนำมาปรับปรุงราชอาณาจักรต่อไป ส่วนงานสร้างจากรัชกาลก่อนด้วยพระประสงค์ของจักรพรรดิโยเม พระพุทธรูปยากุชิเนียวไรสร้างแล้วเสร็จหลังจากที่ทรงสวรรคตไป 20 ปี ภายในยุคสมัยของเจ้าชายโชโตกุผู้เป็นพระราชโอรสได้ทรงอัญเชิญองค์พระไปประดิษฐานอยู่ใน โฮริวจิ วัดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นตามพระบัญชาของเจ้าชายและเพื่อเทิดพระเกียรติยศอุทิศแก่พระราชบิดาของพระองค์

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ช.ภาคิน รอดทิม ชั้นม.3/8 เลขที่ 4
2.ด.ช.กิติพิชญ์ จันทะวะโล เลขที่ 2
3.ด.ช.บุญพิพัฒน์ เเสนพุทธ เลขที่ 3
4.ด.ช.ปภินวิทย์ สุขสิน เลขที่ 12
5.ด.ช.ชนเนษฐ์ คำชู เลขที่ 11
6.ด.ช.ภานุพงศ์ ทองเจริญ เลขที่ 8
7.ด.ช.กฤษนัย สวัสดิ์สุข เลขที่ 6
8.ด.ช.ธนวัฒน์ มีฉิม เลขที่ 15
9.ด.ช.สิทธินันท์ เทพเเก้ว เลขที่ 14
10.ด.ญ.อรพรรณ เพ็ชรรัตน์ เลขที่ 36

11.ด.ช.ประพัฒน์ คงกะพันธ์ เลขที่ 7
12.ด.ช.พงศธร กันต๊ะ เลขที่ 17