การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังญี่ปุ่น

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน[2] เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ[3]

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชายปริชญ์ พุ่มพิม
2.เด็กชายบูรพา ช้างแก้ว
3.เด็กชายวุฒิชัย พรมคำมูล
4.เด็กชายพิชาพงศ์ สุดทำนอง
5.เด็กชายธรรมรัตน์ แซ่ตั้ง
6.เด็กชายคริษฐ์ หลวงนิหาร
7.เด็กชายปริทัศน์ พวงมะลิ
8.เด็กชายมนชิต กำไลทอง
9.-------
10.เด็กชายมินทร์ธาดา วงษ์ดี

11.เด็กชายเดชนรินทร์ นันทสูงเนิน
12.เด็กชายคุณานนท์ ถุนพุฒดม
13.เด็กชายเมธัส เมืองเกิด
14.เด็กชายอรรฆรพันธ์ วรรณา
15.เด็กชายธนัท ชำนาญการ
16.-----
17.เด็กชายรัชชานนท์ ป้อมสะอาด
18.เด็กชายฐิติภูมิ ศรีนาราง