ความเสื่อมและย่างก้าวของพุทธศาสตร์ในญี่ปุ่น

IND

ในสมัยที่ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมนำเอาพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและอรรถกถาต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายโชโตกุสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1165 บรรดาประชาชนทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นอันมาก จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพระองค์ขึ้น 1 องค์ องค์ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริว หลังจากนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย เป็นการคล้ายกับว่าพระพุทธศาสนาได้ถูกหยุดชะงักเพราะนโยบายการปกครองประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคของการเปลี่ยนผู้นำ ด้วยพระนักบวชเป็นที่เคารพอย่างสูงจากทั้งชาวบ้านขุนนางโดยไม่เว้นแม้แต่ระดับผู้นำอย่างราชวงศ์จักรพรรติและโชกุน แต่ภาระหน้าที่ของพระสงฆ์นักบวชแต่โบราณกาลนอกจากเทศน์แก่สาธุชนช่วยเหลือผู้พอเหมาะสมพอควรอันอยู่ในทางที่พอช่วยได้แล้ว เดิมยังได้มีบทบาทในทางสังคมเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ปรึกษาปัญหาทางโลก ปัญหาทางธรรม ไปจนถึงการมีส่วนร่วมชี้นำการปกครองบ้างบางครั้งในคราวจำเป็น นักบวชพระสงฆ์เองผู้ซึ่งปฏิบัติธรรมย่อมตระหนักดีในเท็จจริงของโลกนี้ว่าการมุ่งไปสู่จุดหมายสูงสุดของสายทางบำเพ็ญเพียรจำเป็นต้องพิจารณาสรรพสิ่งความเป็นไปอย่างยิ่งจิตใจและธาตุสี่แห่งกายสังขารตน[4]ซึ่งยังคงพึ่งอิงอาศัยอยู่บนโลก [5]อีกด้านของยุคต่าง ๆ สมัยที่บ้านเมืองต้องอยู่กับสงครามความวุ่นวายปั่นป่วน นักบวชพุทธมหายานในญี่ปุ่น[6][7]เองนั้นก็ยังมีพระนักบวชซึ่งฝึกฝนเก่งกาจวิชาการต่อสู้เป็นพระนักรบ(ญี่ปุ่น: 僧兵(そうへい) Sōhei "โซเฮ")[8][9]ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคสมัยเฮอัน และกองกำลังกองทัพพระนักรบ[10]นั้นเป็นที่ยอมรับได้รับการยำเกรง ความที่ผู้ที่เป็นพระสงฆ์นักบวชมีจุดยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นที่รวมความเคารพเชื่อถืออย่างสูง อำนาจของการเป็นพระนักบวชในพระศาสนาสามารถทำได้แม้แต่การจะชี้นำหรือแทรกแซงเปลี่ยนแปลงกระแสทิศทางในการปกครองมาแล้วหลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์[11][12][13]แม้นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นโดยปกติจะถือคติไม่เข้าไปยุ่งการเมืองหรือสงครามหากไม่โดนระรานขัดขวางหนทางก่อนแต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความน่าหวั่นเกรงนี้เองจึงถูกกดดันบีบบังคับทั้งทางตรงทางอ้อมจากชนชั้นปกครองญี่ปุ่น ลดทอนอำนาจจำกัดบทบาทของบุคคลสายนักบวช และพระนักบวชในศาสนาพุทธของญี่ปุ่นสมัยหลัง ๆ จำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพตนเองหาค่าบำรุงในการดูแลวัดและผจญกับความลำบากกับการต้องพยายามธำรงรักษาพุทธศาสนาให้มีคงอยู่สืบสานต่อไปในญี่ปุ่นได้ ทว่าจากหลากหลายนิกายที่แบ่งออกมาจากนิกายหลัก ได้ทำให้ การถือบวชของนักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นแตกแขนงออกเป็น 2 กลุ่ม 1.ถือบวชในรูปแบบที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย 2. ถือบวชโดยที่เป็นผู้อยู่ครองเรือนไม่ต่างจากฆราวาส เหตุที่นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นส่วนหนึ่งแต่งงานมีภรรยาได้สืบเนื่องมาจากนักปราชญ์สำคัญแห่งนิกายโจโด นักบวชโซนินชินรัน (พ.ศ. 1716 - พ.ศ. 1805) เป็นคนริเริ่มแรกที่นำเสนอว่าพระและวัดไม่สำคัญ ด้วยหลักคิดของนิกายโจโดเอง อีกทั้งตัวนักบวชโซนินชินรันมีภรรยา แต่ยังคงถือว่าตนเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาหากอยู่ร่วมกับผู้เป็นฆราวาส และตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบทอดทางสายตระกูล ภายแรกเรื่องเช่นแนวทางนี้เป็นการลับ[14] โซนินชินรันเป็นสาวกของโฮเน็น เป็นผู้ก่อตั้งนิกายโจโดซินชู(สุขาวดีที่แท้) ได้ย้ำว่าพระพุทธองค์นั้นได้เตรียมสวรรค์ไว้ให้แก่ผู้มีใจกุศลและลงโทษผู้มีใจอกุศล สิ่งที่จำเป็นสำหรับการที่จะได้มาซึ่งการช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ก็คือการมีความเชื่อมั่นศรัทธา ถ้อยคำสอนของท่านนักบวชทั้งสองเป็นที่เข้าใจง่ายจึงได้รับความศรัทธาจากประชาชนชาวญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา แล้วเมื่อถึงยุคเมจิแนวคิดนี้ได้รับการสานต่ออย่างแพร่หลาย และส่วนหนึ่งจำยอม เมื่อองค์พระจักรพรรดิผู้นำผู้เป็นประมุขของประเทศสมัยนั้นต้องการให้พระนักบวชทุกนิกายล้มเลิกการถือพรหมจรรย์ ผู้นำของประเทศมีนโยบายล้มล้างพระพุทธศาสนาความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นก็ยิ่งถูกสั่นคลอนอำนาจทางสังคมลดบทบาทลงไปอีก ลัทธิชินโตที่เดิมเป็นศาสนาความเชื่อดั้งเดิมของดินแดนหมู่เกาะญี่ปุ่นได้รับการนำกลับมาเชิดชูให้รับการนิยมแทนพระพุทธศาสนาซึ่งถูกกะเกณฑ์ให้ยกเลิกไปจากราชสำนักของพระจักรพรรดิสมัยนั้น นโยบายนี้เป็นนโยบายทางการเมืองที่ใช้เป็นวิธีการเรียกรวมความเชื่อเชิดชูธงชินโตเดิมขึ้นมาใช้แก้เกมหลังจากล้มรัฐบาลโชกุนลงได้ แต่แล้วผลที่เกิดขึ้นจากการที่ญี่ปุ่นไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้บทบาทความเป็นศาสนาชินโตถูกลดลงเป็นลัทธิ[15] วัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่น การศึกษาเจริญมากขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ พระสงฆ์เริ่มงานการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจังกว้างขวางตามวิธีสมัยใหม่ ส่วนหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระสงฆ์แต่ละนิกายก็ยังคงจัดพิธีกรรมเป็นประเพณีตามนิกายของตน


nongphai

โรงเรียนหนองไผ่ สพม.40

700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่

อ.หนองไผ่ จ.เพรบูรณ์

สมาชิกในกลุ่ม

1.นาย พิษณุ น่าชม ม.3/1 เลชที่2

2.ด.ช.พงศ์พล กันแพงศรี ม.3/1 เลชที่3

3.ด.ช.จิรวัฒน์ เจนจบธรรม ม.3/1 เลชที่7




4.นาย พันธกานต์ กันยาประสิทธิ์ ม.3/1 เลขที่17

5.นางสาว สุวรรณา อู่ประเสริฐ ม.3/1 เลขที่35