พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระพุทธศาสนาได้มีความเจริิญรุ่งเรืองไปในแคว้นต่างๆ โดยในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทรงอุปถัมภ์การสังคายนา พระธรรมวินัยครั้งที่ 3 รวมทั้งได้ทรงส่งคณะธรรมทูต 9 สายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศต่างๆ เมื่อพระเจ้าอโศกมาหาราชสวรรคตแล้ว อาณาจักรมคธเริ่งแตกแยก พราหมณ์ชื่อสุงคะได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าปุษยมิตร ศาสนาพราหมณ์หริอฮินดูได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธศาสนาถูกทำลายจากกษัตริย์ต่างศาสนา แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดงส่วนอื่นๆของอินเดีย
อุทยานประวัติศาสตร์
นาลัยทามหาวิหาร ในอดีตเป็นมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศอินเดียตั้งอยู่ในเมืองนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดียและ นาลันทา เป็นชื่อเมืองๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
ที่ตั้งของเมืองนาลันทาในปัจจุบัน
นาลันทาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากเมืองราชคฤห์ใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ภายหลังการขุดค้นพบซากมหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ทางรัฐบาลรัฐพิหารได้ประกาศยกฐานะหมู่บ้านนาลันทา เป็นอำเภอนาลันทา (ที่ว่าการอำเภออยู่ที่พิหารชารีฟ ตั้งอยู่ห่างจากนาลันทา 12 กิโลเมตร) นาลันทาในสมัยพุทธกาล นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเกวัฏฏสูตรแก่บุตรคฤบดีชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้ข้อความพระสูตรเดียวกัน เมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีสถานะเป็นเมืองเล็ก (township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขายเห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติ-กาจารย์อ้างเสมอว่าสถานที่นั้นอยู่บริเวณใดแน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เช่น สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์... เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์
เมืองนาลันทาสมัยพุทธกาล
นาลันทา มีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาลเพราะว่าเมืองนาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตรซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระผู้มีพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรงแสดงเกวัฏฏสูตร แสดงภาวะนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. นาย กานต์ สีทับทิม ม.3/7 เลขที่ 41
2. ด.ช ธนพัฒน์ คำพิลัง ม.3/7 เลขที่ 13
3. ด.ญ ศศินา แสงวะนาค ม.3/7 เลขที่ 20
4. ด.ญ ปิยพร รูปคำ ม.3/7 เลขที่ 25

5. ด.ช วราวุฒิ ตะกรุดเที่ยง ม.3/7 เลขที่ 8
6. ด.ช ขจรเดช จันทร์บุญมี ม.3/7 เลขที่ 1
7. ด.ญ ภัทรานิษฐ์ ร่องจิก ม.3/7 เลขที่ 29
8. ด.ญ กมลลักษณ์ เสโพธิ์ ม.3/7 เลขที่ 21
9. ด.ญ ทัศนา สมบัตร ม.3/7 เลขที่ 27