สถานการณ์พุทธศาสนาของอินเดียในยุคปัจจุบัน
หลังจากสมัยพุทธกาล พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1300 – 1700 คณะสงฆ์อ่อนแอลง รวมทั้งถูกศาสนาอื่นต่อต้านและบีบคั้น กอปรกับถูกชนชาติมุสลิมเข้ารุกรานและทำลายวัดวาอารามตลอดจนพระสงฆ์ ในที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 1700 พุทธศาสนาจึงเสื่อมลงและสูญหายไปจากอินเดียในที่สุด ในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและได้นายเยาวหรลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) เป็นนายกรัฐมนตรี เนห์รูได้ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของประชาชนที่มาจากลัทธิและต่างศาสนาภายใต้แนวคิด “สหธรรม”
ในช่วงนี้ พุทธศาสนาได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งโดยบุคคลสำคัญ 2 ท่าน คือ นายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ดร. บิมเรา รามจิ เอมเบดการ์ (Dr. Bhimrao Ramji Ambedkar) ผู้นำชาวพุทธ โดยรัฐบาลอินเดียได้บูรณะพุทธสถาน ส่งเสริมการศึกษา พุทธศาสนาและก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่เมืองนาลันทาและเมืองมคธ วิทยาลัยพุทธที่เมืองบอมเบย์ ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีที่เมืองกัลกัตตา รวมทั้งจัดงานฉลองพุทธชยันตี หรือ ครบรอบ 2,500 ปีของพุทธศาสนา โดยเชิญประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนามาร่วมฉลอง และสร้างวัดในบริเวณรอบพระมหาเจดีย์พุทธคยาด้วย ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีบทบาทในเรื่องพุทธศาสนาในอินเดียอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ดร. เอมเบดการ์ได้นำคนวรรณะต่ำประมาณ 5 แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปะ รัฐมหาราษฏระ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดียที่สำคัญ
และเมื่อเอมเบดการ์เสียชีวิตลง ทำให้ชาวพุทธในอินเดียขาดผู้นำคนสำคัญไป แต่พิธีปฏิญาณตนเป็น พุทธมามกะดังกล่าว ก็ยังดำเนินมาทุกปี พระสงฆ์จากประเทศไทยได้รับเชิญไปร่วมงานด้วยทุกครั้ง ในขณะที่พุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมและสูญไปในช่วงปี พ.ศ. 1700 ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ทางการอินเดียได้จัดงานฉลองพุทธชยันตี หรือครบรอบ 2,500 ปีของพุทธศาสนา และได้เชิญประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา รวมทั้งประเทศไทยร่วมฉลองและสร้างวัดที่เมืองคยานั้น
พุทธศาสนาในอินเดียไม่เพียงแต่กระจุกตัวอยู่ในเขตวังเวชนียสถานเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่อื่นๆ อีกมากที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนมากนัก อาทิ วัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานในแคว้นลดาขสิกขิม และธรรมศาลา เป็นต้น หรือ อิทธิพลของพุทธเถรวาทแบบประเทศไทยที่กระจายตัวอยู่ในกลุ่มคนไต
ที่มีอัตลักษณ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมคล้าย คนไทยล้านนนา คนไตเหล่านี้กจะจายตัวอยู่ทางภาคอีสานของอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐอัสสัมและอรุณาจัลประเทศ นอกจากนี้ ยังมีทางรัฐคุชราตซึ่งเป็นรัฐบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นเรนทรา โมดี ที่มีชาวฮินดูเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธเป็นแสนๆ คน ซึ่งในปี 2558 นี้ สถานทูตฯ ร่วมกับสำนักงานพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล มีแผนที่จะนำพระพุทธรูปไปมอบให้กับชาวพุทธคุชราต ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมพุทธศาสนานอกเขตสังเสชนียสถานของสถานทูตฯ
อินเดียแม้จะเป็นมาตุภูมิของพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันกลับมีคนนับถือศาสนาพุทธน้อยมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนของประชากรทั้งประเทศกว่า 1,000 ล้านคน ทำไมพุทธศาสนาในอินเดียจึงไม่ฟื้น ในเมื่อกระแสทางยุโรป อเมริกาหันมาให้ความสนใจ แม้แต่สตีฟ จ็อบส์ พ่อมดไอทียังหันมานับถือศาสนาพุทธ ซึ่งหากเรามองในภาพกว้าง ตอนนี้จะว่าไปแล้ว พุทธศาสนาก็คืนมาสู่อินเดียบ้างแล้ว มีคนนับถืออยู่หลายล้านคน ถ้ารวมชาวพุทธที่ได้อิทธิพลจากเอมเบดการ์ บางรายงานบอกว่ามีถึง 30-40 ล้านคน ก็นับว่าไม่น้อยเหมือนกัน”
มูลเหตุที่คนอินเดียนับถือศาสนาพุทธไม่มาก
อาจจะเป็นเพราะว่าชาวพุทธที่ประกาศตัวแล้ว แต่การศึกษาอาจยังไม่เข้มแข็ง ทำให้เกิดอิทธิพลต่อสังคมได้ไม่มากนักตั้งแต่หลังพุทธกาล ชาวอินเดียเคยหันมานับถือพุทธศาสนาขนานใหญ่ครั้งหนึ่ง โดยมีผู้นำคนสำคัญคือ ดร.เอมเบดการ์ ผู้เกิดในวรรณะศูทร ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ท่านนำคนวรรณะจัณฑาลเข้ามานับถือพุทธศาสนานับ 1,000,000 คน
รูปแบบการนับถือพระพุทธศาสนาของอินเดียในปัจจุบัน
"รูปแบบของพุทธศาสนาในอินเดียทุกวันนี้ มีลักษณะยอมรับพระพุทธศาสนาในหลายแบบ ทั้งยอมรับเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือยอมรับในแง่ของการสร้างภาพพจน์ตัวเอง การที่จะน้อมนำเอาพุทธศาสนาไปปฏิบัติจริงๆ นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ
จะเห็นว่าในธนบัตรของอินเดียจะมีรูปเสาพระเจ้าอโศก ในรัฐสภาก็มีรูปพระพุทธเจ้า ซึ่งอินเดียเอาพุทธศาสนามาใช้ในแง่สัญลักษณ์ ในแง่ของธุรกิจการค้ามากกว่า เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นมาร์เก็ตติ้ง สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ดีนี่เป็นแง่หนึ่ง แต่ในแง่ของคำสอนคงได้แต่ในระดับเล็กๆ เพราะศาสนาพราหมณ์ได้หยั่งรากลึก ศาสนาพราหมณ์สอนที่วรรณะ เมื่อเป็นวรรณะก็ปิดกั้นทุกสิ่งทุกอย่าง พุทธศาสนาสอนตรงข้ามกับวรรณะทั้งหมด และมีนักวิชาการฝรั่งบอกว่า พุทธศาสนาเป็นอะไรที่โต้ตอบพราหมณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่พราหมณ์ทำพุทธศาสนาโต้กลับหมด ถ้าเรามองตรงนั้นจะเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
คนนับถือพราหมณ์จะหันมารับพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ยาก
ด้วยเหตุที่พวกเขาจะรู้สึกว่าการหันมานับถือศาสนาพุทธเป็นการทรยศต่อบรรพบุรุษของเขา แต่ในแง่คำสอนสามารถจะเอามาใช้ได้ เขาใช้พุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ของตน อย่างอ้างว่าพระพุทธเจ้าเป็นองค์อวตารหนึ่งของพระนารายณ์ เพียงแค่เอามาอ้างเท่านั้น พระพุทธเจ้าก็อยู่ในอินเดีย ตรัสรู้ในอินเดีย เขาก็พยายามจะกลืนพระพุทธเจ้าว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระนารายณ์
พราหมณ์บอกว่า “พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์” ซึ่งหลักฐานที่ว่าเขาเอาคำสอนของพระนารายณ์ หรือเขาเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงบ้างหรือไม่ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า สิ่งที่ชาวอินเดียเอาพุทธศาสนามานั้น ไม่ได้เอามาใช้ในแง่ของคำสั่งสอนที่สุดยอด แต่เอามาใช้เพื่อการค้า เพื่อประโยชน์ในการสร้างอัตลักษณ์ ผลประโยชน์ทางการเงินและการเมือง นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่เราไม่สามารถไปกะเทาะให้หลุดได้
ส่วนกระแสการนับถือพุทธศาสนาสมัยเอมเบคการ์ ธรรมทรรศนะของพระอนิลมาน คือ “เอมเบคการ์เป็นคนวรรณะต่ำ ต้องการต่อสู้ในเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าคนจำนวนมากถูกกดขี่อย่างมาก เขาก็หาวิธีว่าทำอย่างไรจะช่วยให้พ้นในเรื่องนี้ อิสลามก็ไม่ได้ คริสต์ก็ไม่ใช่ ก็เห็นพุทธศาสนาอย่างเดียว ท่านก็เอามาสอน เอามาเผยแผ่ แต่เบื้องหลังในการเผยแผ่คือในเชิงการเมือง เพื่อไม่ให้พวกวรรณะจัณฑาลถูกกดขี่
พระพุทธศาสนาเจริญจริงในหมู่ของคนจัณฑาล แต่คนใหญ่มองว่า เขาไม่ได้นับถือโดยศรัทธา แต่นับถือเพราะว่าต้องการพ้นภาวะของจัณฑาล มันก็เลยกลายเป็นว่า พุทธศาสนาเจริญในอินเดียทุกวันนี้ คนส่วนหนึ่งมองว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาของคนจัณฑาล คนใหญ่คนโตแม้จะเป็นคนอยากรุกเพื่อศาสนา หรือนับถือศาสนาเขาก็ไม่อยากยุ่ง เพราะถ้ายุ่งสถานะทางสังคมของเขาก็จะมีปัญหา ดังนั้น ที่เราไม่สามารถกะเทาะเปลือกได้ เพราะว่าวรรณะยังคงแข็งแรง ศาสนาพราหมณ์ยังเข้มแข็ง”
มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ คนวรรณะล่างส่วนหนึ่งก็มีเงื่อนไขเรื่องติดนิสัยในการเชื่อฟัง ไม่สามารถยืนต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง ส่วนวรรณะสูงก็ไม่อาจลดระดับของตนเองลงมา มันก็เลยตกหลุมทางสังคมและการเมืองของอินเดียไป เมื่อมองภาพรวมแล้วความพยายามของคนส่วนหนึ่ง ในการฟื้นฟูศาสนาในอินเดีย เป็นต้นว่า รัฐบาลอินเดียสนับสนุนการตั้งมหาวิทยาลัยที่นาลันทาเป็นต้น แม้ว่าโอกาสศาสนาพุทธจะฟื้นในอินเดียได้ยาก เพราะชนเพดานชั้นวรรณะ แต่ในถิ่นอื่นพอมีหวัง และพุทธศาสนิกชนไทยก็ต้องทบทวนตัวเองเหมือนกัน.
ฐานความเชื่อทางศาสนาของชาวอินเดียในปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร
ปัจจุบันคนอินเดียนับถือศาสนาฮินดูประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาอิสลาม 10 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็นศาสนาอื่น เช่น ซิกส์ พุทธ เชน หรือที่มีบ้างเล็กๆ น้อยๆ เช่น คริสต์ และโซโลฮัสเตอร์
ทุกศาสนามารวมกันที่อินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างศาสนาคริสต์ไม่ใช่เพิ่งเข้ามาตอนในอินเดียช่วงตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ แต่เชื่อว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยเซนต์โธมัสหรือหลังจากที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน อย่างไรก็ตาม ตรงนี้อาจจะบอกเล่ากันเกินจริงไป แต่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจฬะ(พุทธศตวรรษที่ 15 - 19) ศาสนาคริสต์เข้ามาแล้ว หลักฐานจะมีลักษณะเป็นเรื่องเล่า แต่สำหรับหลักฐานที่เป็นจารึกไม่แน่ใจว่ามีหรือไม่ ศาสนาคริสต์ยุคเก่าๆ เช่น คริสต์จากซีเรียหรือเปอร์เซียที่ภายหลังได้รับการกดดันจากศาสนาอิสลามก็ย้ายมายังอินเดียด้วย
อิทธิพลของพุทธศาสนาในอินเดีย
พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นท่ามกลางสังคมอินเดียทีมีความหลากหลายด้านความเชื่อ ศาสนา ลัทธิต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นก่อนพระพุทธศาสนา และที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ตลอดจนลัทธิที่เกิดขึ้นมาภายหลังอีกมากมาย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นมาในดินแดนชมพูทวีป หรืออินเดียเหมือนกับลัทธิศาสนาต่าง ๆ เหล่านั้น แต่พุทธศาสนามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิศาสนาต่าง ๆ ได้แก่การอุบัติขึ้นมาพร้อมกับการปฏิรูปสังคมอินเดียเสียใหม่ คือพุทธศาสนาได้เสนอหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งหักล้างกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวอินเดียไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์โดยสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพุทธศาสนาเคยได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาก่อน ย่อมจะทำให้สังคมอินเดียได้รับอิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อจากพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน เมื่อความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนอินเดียเป็นอย่างไร ก็ย่อมส่งผลให้สังคมเป็นไปอย่างนั้นด้วย แม้ว่าปัจจุบันนี้จะเหลือแต่ภาพเก่า ๆ ของพุทธศาสนาในความทรงจำของผู้คน หรืออาจจะลืมไปแล้วก็ตามสำหรับคนอินเดีย แต่อิทธิพลของของพุทธศาสนาที่เคยมีบทบาทต่อสังคมอินเดียนั้น ยังปรากฏอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
สรุป
อิทธิพลทางพุทธศาสนาต่อประเทศอินเดีย เป็นลักษณะผสมผสานกับอิทธิพลของศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาฮินดู เนื่องจากศาสนาฮินดูเป็นศาสนาดั้งเดิมที่วิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์ ที่อยู่กับชาวอินเดียมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลของฮินดูฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอินเดียมาช้านาน ส่วนอิทธิพลของพุทธศาสนามีอยู่ใน ๒ ลักษณะ คือ
๑. อิทธิพลของคำสอนที่ปนอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เนื่องจากศาสนาฮินดูพยายามกลืนพุทธศาสนา โดยเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนาไปประยุกต์กับศาสนาฮินดู โดยเอาพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในอวตารของพระนารายณ์ คำสอนของพุทธศาสนาจึงปะปนอยู่ในคัมภีร์ของฮินดู พิธีรีตองส่วนมากซึ่งเกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์พระเวท ตลอดจนรูปแบบของศาสนาที่แพร่หลายเป็นที่นิยมของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะก็คือประเพณีการสังเวยเทพเจ้าด้วยชีวิตสัตว์ได้สูญสลายไป ความคิดเรื่องอหิงสาซึ่งมีปรากฏอยู่แล้วในคัมภีร์พระเวทและคัมภีร์อุปนิษัท ได้รับการเน้นหนักจากพุทธศาสนา
๒. อิทธิพลของพุทธศาสนาดั้งเดิม มีอิทธิพลต่อสังคมอินเดียในสมัยที่พุทธศาสนารุ่งเรืองอยู่ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงหลังพุทธปรินิพพาน กระทั่งจนพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย ราว ศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๗นับว่าประวัติศาสตร์อันยาวนานของพุทธศาสนาที่เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในอินเดีย แต่ปัจจุบันกลับไปเจริญในดินแดนอื่น ส่วนในอินเดียก็มีเพียงชาวพุทธกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มน้อยของประชากรอินเดียที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่