การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน

พระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน
ในราวศตวรรษที่ 8 รัชสมัยพระเจ้าจักกยาลโป เหล ่าเสนาอำมาตย์ได้นิมนต์คุรุปัทมสัมภวะ
(ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตันตระและไสยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา) มาช ่วยรักษาพระเจ้าจักกยาลโปที่ทรง
ประชวร พระองค์นิมนต์คุรุปัทมสัมภวะให้อยู ่ที่เมืองพุมธัง แต ่ท ่านปฏิเสธ และขอให้รับพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจำชาติพระพุทธศาสนาจึงได้ประดิษฐานมั่นคงในภูฏานมาตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1796ลามะปาโชหรือดรุกอมชิงโป(พระลามะจากทิเบต) ได้เดินทางมายังภูฏาน
และได้เผยแผ่ลัทธิดรุกหะกัคยุล่วงมาถึงศตวรรษที่ 17 ท่านซับดรุง นะวัง นัมกเยล (ผู้นำลัทธิดรุกปะกัคยุ)
ได้รวบรวมเมืองน้อยใหญ่จนเป็นปึกแผ่นจนได้ฉายาว่าซับดรุง (หมายความว่าผู้ที่ทุกคนต้องยอมสิโรราบให้)
ท่านได้สร้างสถานที่สำคัญไว้หลายแห่ง เช่น พูนาคาซอง (สถานที่ประกอบพิธีสถาปนาสังฆราช)
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน
ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยอมรับ
นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานแบบตันตระหรือวัชรยาน
เป็นศาสนาประจำชาติอย ่างเป็นทางการ นิกายตันตรยาน
ถือกำเนิดขึ้นในช ่วงสุดท้ายของพัฒนาการอันยาวนานของ
พระพุทธศาสนา ซึ่งตันตรยาน (มาจากภาษาอินเดีย) เป็นชื่อ
คัมภีร์ลึกลับ และปรากฏขึ้นในราวช ่วงศตวรรษที่ 3-10
พระพุทธศาสนาตันตรยานสูญหายไปจากอินเดีย ซึ่งเป็น
ดินแดนต้นกำเนิดในช่วงที่มุสลิมยกมารุกรานในต้นศตวรรษ
ที่ 13 แล้วไปรุ ่งเรืองอยู ่ในทิเบต มองโกเลีย ภาคเหนือของ
เนปาลภูฏานจีนและญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ได้ซึมซับและ
หล ่อหล ่อมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวภูฏานอย ่างลึกซึ้ง ชาวภูฏานนิยมบริจาคมากจนบางครั้งกลายเป็นหนี้สิน จนรัฐบาลต้อง
ออกกฎหมายควบคุมการบริจาค


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ญ.เบญญทิพท์ เหลื่อมใส ม.3/4 เลขที่22
2.ด.ญ.ชาริณี ลายน้ำเงิน ม.3/4 เลขที่28
3.ด.ญ.รุ่งระวี จันทร์แจ่ม ม.3/4 เลขที่29
4.ด.ญ.นิฐิพร แดนแปว ม.3/4 เลขที่33
5.ด.ญ.ศิริพร อินประเสริฐ ม.3/4 เลขที่39