การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังลังกาทวีป(ศรีลังกา ปัจจุบัน) ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ( พ.ศ235-275)ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ โดยการนำของพระมหินทเถระและคณะสมณทูต ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปได้ทรงส่งมาในคราวทำสังคยานาครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอย่างดี ได้มีการส่งสมณทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาสู่ลังกาทวีปด้วย ต้นโพธิ์นี้ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากที่สุดในโลก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะยังทรงสร้างมหาวิหารและถูปาราม อันเป็นเจดีย์องค์แรกของลังกาไว้ ณ เมืองอนุราธปุระด้วย ในสมัยนั้นลังกาทวีปมีประชาชนอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าสิงหล และเผ่าทมิฬ ชนผ่าสิงหลทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนชนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าเทวานัม ปิยติสสะแล้วลังกาทวีปก็ตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ทมิฬ พระพุทธศาสนาในลังกาบางครั้งก็เจริญรุ่งเรือง บางครั้งก็เสื่อมลงจนถึงสูญสิ้นสมณวงศ์สลับกันไปเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์ของชนผ่าใดในระว่างสิงหลกับทมิฬขึ้นมามีอำนาจ ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ ทรงกอบกู้ราชบัลลังก์จากพวกทมิฬได้ และทรงจัดการทางฝ่ายราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้วก็ได้หันมากอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และส่งทูตไปขอพระภิกษุสงฆ์จากพม่ามาทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ทำให้สมณวงศ์ในลังกาได้กลับมีขึ้นอีกครั้ง

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ช.อนุวัฒน์ โคจรานนท์ ม.3/5 เลขที่ 4
2.ด.ช.สิทธิชัย คามกระสบ ม.3/5 เลขที่ 5
3.ด.ช.เกียรติศักดิ์ เวกสันเทียะ ม.3/5 เลขที่ 8
4.ด.ช.สมิทธิ จันมโนวงษ์ ม.3/5 เลขที่ 15
5.ด.ช.ธีรทัศน์ แดงคำ ม.3/5 เลขที่ 16

6.ด.ญ.เขมจิรา บุญเลิศ ม.3/5 เลขที่ 17
7.ด.ญ.รุ่งอรุณ สุดทำนอง ม.3/5 เลขที่ 24
8.ด.ญ.ธิดารัตน์ ก่อสัตย์ ม.3/5 เลขที่ 26
9.ด.ญ.เกษกนก โฉมทัพย์เย็น ม.3/5 เลขที่ 35