การเผยแผ่พระพุทธศาสนาพุทธในทิเบต

ทิเบตคือดินแดนแห่งศาสนา ในยุคดั้งเดิม ลัทธิบอนมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวทิเบต ในยุคต่อมาพระพุทธศาสนาเข้าไปมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตชาวทิเบต ทำให้มีสีสันแห่งศาสนาหลากหลายยิ่งขึ้น แนวคิดพื้นฐานวัฒนธรรมทิเบตมีว่า “ชีวิตคือศาสนา ศาสนาคือชีวิต” แนวคิดแบบนี้ทำให้วิถีชีวิตของชาวทิเบตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย แม้ธรรมชาติจะโหดร้ายรุนแรง แต่ด้วยจิตใจที่กล้าแกร่ง ทำให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีสุข ทิเบตมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,610,000 คน (หลักฐานบางแห่งบอกว่ามี 2,400,000 คน) เป็นชาวทิเบตประมาณ 92.2 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือประมาณ 7.8 เปอร์เซ็นต์เป็นชนกลุ่มต่างๆ ทิเบตรับพระพุทธศาสนาจากอินเดียและจีน เรียกว่า พระพุทธศาสนาตันตรยานหรือมหายานแบบทิเบตนั่นเอง พระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน เป็นพระพุทธศาสนาแบบตันตระ มีนิกายหลัก 4 นิกายคือ 1. นิกายเนียงม่า (นิกายแดง) 2. นิกายเกลุก (นิกายเหลือง) 3. นิกายการ์จู (นิกายขาว) 4. นิกายศากยะ นิกายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ นิกายเกลุก (นิกายเหลือง) พระพุทธศาสนาในทิเบตที่นับถือในปัจจุบันคือ พุทธตันตระ แม้จะมีหลากหลายนิกาย แต่หลักปริยัติและปฏิบัติโดยภาพรวมใช้หลักการเดียวกัน การปฏิบัติโยคะ การสาธยายมันตระ การปฏิบัติโดยเน้นหลักปรัชญาและกรุณาเป็นสำคัญ ปรากฏให้เห็นในทุกนิกาย หลักธรรมสำคัญคือ ปรัชญาและกรุณา ชาวทิเบตต้องสวดมนต์ได้ มันตระแห่งปรัชญา คือ โอม อา หูม วัชระ คุรุ สิทธิ หูม มันตระแห่งกรุณา คือ โอม มณี ปัทเท หูม พุทธศาสนิกทิเบตกราบอัฏฐางคประดิษฐ์ มีลูกประคำ 108 ลูก ประจำเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยในการสวดมนต์กำหนดวาระจิต ทุกคนให้ความสำคัญแก่การสวดมนต์ ถ้าสวดได้ถึง 600,000 จบ จะทำให้บรรลุนิพพาน

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ช.อนุวัฒน์ โคจรานนท์ ม.3/5 เลขที่ 4
2.ด.ช.สิทธิชัย คามกระสบ ม.3/5 เลขที่ 5
3.ด.ช.เกียรติศักดิ์ เวกสันเทียะ ม.3/5 เลขที่ 8
4.ด.ช.สมิทธิ จันมโนวงษ์ ม.3/5 เลขที่ 15
5.ด.ช.ธีรทัศน์ แดงคำ ม.3/5 เลขที่ 16

6.ด.ญ.เขมจิรา บุญเลิศ ม.3/5 เลขที่ 17
7.ด.ญ.รุ่งอรุณ สุดทำนอง ม.3/5 เลขที่ 24
8.ด.ญ.ธิดารัตน์ ก่อสัตย์ ม.3/5 เลขที่ 26
9.ด.ญ.เกษกนก โฉมทัพย์เย็น ม.3/5 เลขที่ 35