การเผยเเผ่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีนดังได้ปรากฎในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช ๖๐๘ ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงค์ฮั่น ได้จัดส่งคณะทูต ๑๘ คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย
คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อพระเถระ ๒ รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระเจ้าฮั่นเม่งเต้ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง ๒ รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคำภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระกาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคำภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่นแรก
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใสแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวเมือง เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื๊อ นักปราชญ์ผู้มีความสามารถยิ่งได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ให้ชาวเมืองได้เห็นถึงความจริงแท้อันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาเหนือกว่าลัทธิเดิม กับอาศัยความประพฤติอันบริสุทธิ์ของพระสงฆ์เป็นเครื่องจูงใจให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใส จนทำให้ชาวเมืองหันมานับถือพระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิศาสนาอื่นๆ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ