พระพุทธศาสนาในทิเบต

คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีตพุทธศาสนาแบบทิเบตจะมีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับต้นจะศึกษาเถรวาท ระดับกลางศึกษามหายาน และระดับสูงศึกษาวัชรยานและมนตรยาน ภิกษุถือปาติโมกข์ตามนิกายมูลสรวาสติวาท มีสิกขาบท 253 ข้อ มีความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าต่างจากนิกายเถรวาทคือ นับถือพระธยานิพุทธะ 5 พระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนะพุทธะ พระอักโษภยะพุทธะ พระอมิตาภะพุทธะ พระอโมฆสิทธิพุทธะ และพระรัตนสัมภวะพุทธะ นอกจากนี้ยังนับถือพระโพธิสัตว์อีกหลายพระองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระชายาคือพระนางตารา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ เป็นต้น

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ภุชงค์ พรมทา เลขที่ 9 ม.3/8
2.ด.ช.ฐานันดร แสนสำราญ เลขที่ 16
3.ด.ญ.ณัฐฌา นามวงศ์ เลขที่ 19
4.ด.ญ.แก้วตา นาคง เลขที่ 23
5.ด.ญ.ทัศวรรณ ศรีสว่าง เลขที่ 26
6.ด.ญ.อริศรา เตชยศ เลขที่ 29

7.ด.ญ.อทิตยา อินปัญญา เลขที่ 31
8.ด.ญ.ฐิติชญา แก้วงาม เลขที่ 32
9.ด.ญ.นฤมล โวหาร เลขที่ 33
10.ด.ญ.กิติภรณ์ จันทรพุทธา เลขที่ 34
11.ด.ญ.อภิญญา ดีขุนทด เลขที่ 35