การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่างๆทั่วโลก


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ทวีปอเมริกา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยชาวเอเชียที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเมื่ออพยพไปอยู่ที่ใดก็ได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาติดตัวไป และทำการเผยแผ่ในทวีปอเมริกาเหนือด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงเริ่มดำเนินการอย่างมีระเบียบแบบแผน เช่น มีการจัดตั้งองค์การ ตั้งพุทธสมาคมและมีการสร้างวัดหรือวิหารขึ้น เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมในการดำเนินงาน

ประเทศสหรัฐอเมริกา

พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกาประมาณ พ.ศ. 2424 โดย พันเอก เอช.เอส. ออลคอตต์ได้แต่งหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชนาทางพระพุทธศาสนาขึ้นเผยแต่คนยังไม่ได้ความสนใจ จนกระทั่ง พ.ศ. 2436 อนาคาริกะ ธัมมปาละ พุทธศาสนิกชาวลังกาได้เดินทางเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเท่านั้น

ใน พ.ศ. 2448 ได้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดี ขึ้นที่นครซานฟรานซิสโกโดยชาวญี่ปุ่นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบำเพ็ญศาสนกิจ และเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติธรรมซึ่งทำให้ชาวอเมริกันเริ่มหันมาให้ความสนใจกับพระพุทธศาสนามากขึ้น

ใน พ.ศ. 2457 ได้มีการจัดตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น ซึ่งสมาคมนี้ในปัจจุบันนี้ยังดำรงอยู่และขยายสาขาไปยังรัฐต่าง ๆ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโกรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ.2504 มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตร์ในระดับปริญญาเอก ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ได้ตั้งมหาวิทยาลัยพุทธธรรมขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียโดยเปิดสาขาวิชาพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐมีความสมบูรณ์ทุกประการ เช่น การจัดปาฐกถาการอภิปราย สนทนาธรรมสัมมนาทางวิชาการ จัดอบรมทางพระพุทธศาสนาภาคฤดูร้อน เปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์บำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางประเพณี นอกจากนี้ยังมีวารสารนวสูตร ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธศาสนานานาชาติอีกด้วย

พระพุทธศาสนาประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่หนาแน่นในบางเมือง เช่น ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ชิคาโก เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดตั้งวัดไทยขึ้นในชุมชนของตน วัดไทยในสหรัฐอเมริกาจึงมีกระจายอยู่ตามรัฐต่าง ๆ เป็นอันมาก ซึ่งมีบทบาทนอกเหนือ จากศาสนกิจแล้ว ยังเผยวัฒนธรรมประเพณีของไทยไปด้วย ได้แก่ เปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และภาคฤดูร้อนให้เด็กๆ ไทยที่เกิด และเติบโตในสหรัฐอเมริกาได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ภาษาไทย และวัฒนธรรมประเพณีไทย

ประเทศแคนาดา

พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่แคนาดาโดยมีชาวเอเชียจากประเทศต่าง ๆ เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในแคนาดาก็ได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ต่อชาวพื้นเมืองด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้มีชาวเกาหลี เวียดนาม เขมรและลาวได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่แคนนาดา วัดทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จะเป็นวัดของนิกายสุขาวดี และนิกายเซนแบบญี่ปุ่น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาใต้

ประเทศบราซิล

ชาวเอเชียจากประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่นเป็นบุคลกลุ่มแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่เข้ามาในประเทศบราซิล ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2ชาวพุทธเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองเซาเปาลู และรีโอเดจาเนโร ปัจจุบันมีการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานตามเมืองต่าง ๆทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศประมาน 30 แห่งรวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การทางพระพุทธศาสนาขึ้นด้วย เช่น สมาคมสหายพระพุทธศาสนา สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งบราซิล และชมรมชาวพุทธญี่ปุ่น เป็นต้นอย่างไรก็ตามการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศบราซิลก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มเอเชียเท่านั้น ส่วนชาวพื้นเมืองที่มีความศรัทธานับถือพระพุทธศาสนายังมีจำนวนน้อย

ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้

ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้มีการปฏิบัติธรรมและการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนากันอยู่บ้างในกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของประเทศอาเจนตินา กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศเวเนซุเอลา และกรุงมอนเตวิเดโอ เมืองหลวงของประเทศอุรุกวัย เพราะมีชาวพุทธเชื้อชาติจีนและญี่ปุ่นอาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กล่าวได้ว่า การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ของวีปอเมริกาใต้ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด และคงต้องใช้เวลาอีกนับเป็น สิบ ๆ ปีถึงทำการเผยแผ่ไปได้ทั่ว


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชายณัฐภูมิ เดือนเพ็ง ม.3/2 เลขที่ 15
2.เด็กหญิงนฤมล เค้าหาญ ม.3/2 เลขที่29
3.เด็กหญิงวิรดา ใจหยุด ม.3/2 เลขที่ 30
4.เด็กหญิงวชิราภรณ์ คำชวด ม.3/2 เลขที่31
5.เด็กหญิงทัศนาวลัย ใจเขียว ม.3/2 เลขที่ 32
6.เด็กหญิงแพรวา ศิรีไพศาล ม.3/2 เลขที่ 33

7.เด็กหญิงอัมพรรณ์ คะชิงฤทธิ์ ม.3/2 เลขที่ 36
8.เด็กหญิงเสาวลักษณ์ สันทวุฒิ ม.3/2 เลขที่ 39
9.เด็กหญิงสุดารัตน์ จรัสพันธุ์ ม.3/2 เลขที่ 40
10.เด็กหญิงสุพิขญา เพ็ชรอ่อน ม.3/2 เลขที่ 41
11.เด็กหญิงมณีรัตน์ บุญประกอบ ม.3/2 เลขที่ 43