การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่างๆทั่วโลก

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่างๆทั่วโลก


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ทิเบต

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

พระพุทธศาสนาแบบทิเบต คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ

ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

ลักษณะเด่นอื่นๆของพุทธศาสนาแบบทิเบตได้แก่

ลามะ คำว่าลามะ หมายถึงอาจารย์ ในการปฏิบัติธรรมในทิเบต ให้ความสำคัญกับอาจารย์มาก โดยความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์มีผลต่อความสำเร็จของศิษย์ในการปฏิบัติตามสายตันตระ โดยถือว่าลามะเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ โดยเมื่อกล่าวสรณคมน์ ศิษย์จะระลึกถึงลามะเป็นที่พึ่งด้วย

ตรรกวิภาษ เป็นการโต้วาทีทางธรรมโดยใช้หลักตรรกะ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมในพุทธศาสนาดีขึ้น ขจัดความเห็นผิด วิธีการของตรรกวิภาษจะประกอบด้วยผู้ถามและผู้ตอบ ก่อนเริ่มต้นทั้ง 2 ฝ่ายจะสวดมนต์บูชาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ที่ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญาจากนั้นจึงเริ่มถามตอบ

การปฏิบัติแบบตันตระ บทความหลัก: พุทธศาสนาลัทธิตันตระ

ยุคเริ่มต้น

ใน พ.ศ. 976 พระเจ้าลาโธ โธรี เย็นเซ เป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้รับเครื่องบรรณาการจากตัวแทนชาวอินเดีย โดยนำคัมภีร์พระพุทธศาสนา และพระพุทธรูปเข้ามาในทิเบต ถือว่าเป็นครั้งแรกที่คนทิเบตได้รู้จักกับพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก เพราะชาวทิเบตยังนับถือลัทธิบอนซึ่งมีความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจอยู่มาก ชาวทิเบตเป็นชนชาติที่ชอบสงคราม ไม่มีอารยธรรมชั้นสูงเหมือนชนชาวเขาทั่วไป แต่ด้วยอิทธิพลของพุทธศาสนาจึงทำให้ทิเบตกลายเป็นผู้ใฝ่สันติสุข และเป็นชาวเขาที่มีอารยธรรมสูงส่งจนถึงมีอักขระพิเศษเพื่อพระศาสนา โดยนำแบบอย่างมาจากอักษรอินเดีย จากนั้นมาพระพุทธศาสนาจากอินเดียก็เข้าถึงทิเบตครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 และประดิษฐานมั่นคงในพุทธศตวรรษที่ 16


ยุคประวัติศาสตร์

ใน พ.ศ. 1173 ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป สนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่ยุคต้น (พ.ศ. 976) พร้อมดำเนินการปฏิรูปศรัทธาทิเบต ต่อมาประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี 2 พระองค์ คือพระนางเหวินเฉิง พระธิดาของจักรพรรดิถังไท่จงแห่งจีน และพระนางภริคุติเทวี พระธิดาของพระเจ้าอัมสุวารมาแห่งเนปาล ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายานอย่างเคร่งครัด จึงได้นำพระพุทธรูปมาด้วยทั้งสองพระองค์ คือเจ้าหญิงเหวินเฉิง นำพระพุทธรูปชื่อโจโว มาประดิษฐานที่วัดซิลลากัง ในกรุงลาซา และเจ้าหญิงภริคุติเทวีได้นำพระพุทธรูปศากยมุนีที่สำคัญมาประดิษฐานที่วัดราโมเช ซึ่งเป็นวัดหลวง และมีความสำคัญรองเป็นอันดับสองในกรุงลาซา ช่วงนี้ได้มีชาวทิเบตเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษาในจีน และพระภิกษุ ชาวจีนก็มาศึกษาในทิเบตเพื่อแปลพระคัมภีร์และพระสูตรจำนวนมาก


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชายณัฐภูมิ เดือนเพ็ง ม.3/2 เลขที่ 15
2.เด็กหญิงนฤมล เค้าหาญ ม.3/2 เลขที่29
3.เด็กหญิงวิรดา ใจหยุด ม.3/2 เลขที่ 30
4.เด็กหญิงวชิราภรณ์ คำชวด ม.3/2 เลขที่31
5.เด็กหญิงทัศนาวลัย ใจเขียว ม.3/2 เลขที่ 32
6.เด็กหญิงแพรวา ศิรีไพศาล ม.3/2 เลขที่ 33

7.เด็กหญิงอัมพรรณ์ คะชิงฤทธิ์ ม.3/2 เลขที่ 36
8.เด็กหญิงเสาวลักษณ์ สันทวุฒิ ม.3/2 เลขที่ 39
9.เด็กหญิงสุดารัตน์ จรัสพันธุ์ ม.3/2 เลขที่ 40
10.เด็กหญิงสุพิขญา เพ็ชรอ่อน ม.3/2 เลขที่ 41
11.เด็กหญิงมณีรัตน์ บุญประกอบ ม.3/2 เลขที่ 43