พระพุทธศาสนาในประเทศจีน
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจากเอเชียกลางและแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในศตวรรษต่อๆ มาโดยอาศัยเส้นทางการค้าขายที่จีนติดต่อกับอินเดียโดยตรง โดยคณะพูตจากอินเดียได้เดินทางมาจีนและพระภิกษุจีนได้จารึกไปอินเดีย จึงเริ่มรับเอาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการในสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไปสืบพระพุทธศาสนาทางตอนเหนือของอินเดีย เมื่อเดินทางกลับประเทศจีน คณะทูตได้นิมนต์พระเถระมาด้วย ๒ รูป คือ พระกัสปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ และจักพรรดิจีนได้ทรงสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในจีนเป็นครั้งแรกนอกพระนคร ชื่อว่า “วัดแปะเบ้ยี่ แปลว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าซึ่งบรรทุกพระธรรมคัมภีร์มาสู่ประเทศจีน อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ฮั่นยังไม่แพร่หลายมากนัก เป็นแต่เพียงนับถือกันในหมู่ชนชั้นสูง จนเมื่อมีการแปลพระสูตรสำคัญทางฝ่ายมหายาน เช่นคัมภีร์พระอภิธรรมและปรัชญาปารมิตาสูตร คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเริ่มแพร่ขยายกว้างขวางออกไป พระพุทธศาสนาในประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในบางยุคสมัยและเสื่อมลงต่ำสุดในบางช่วงเวลา เหตุผลของความเจริญและความเสื่อมแตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย จนถึงยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๒ พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบอย่างมาก วัดถูกยึดเป็นสถานที่ทางราชการ ห้ามประกอบศาสนากิจต่างๆ การเผยแผ่หลักธรรมคำสอนถือเป็นเรืองต้องห้ามและผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสึกขา พระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผาทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๒ ต่อมาภายหลังจากการอสัญกรรมของเหมา เจ๋อ ตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลชุดใหม่ของจีนได้ผ่อนปรนการนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อให้กับประชาชนมากขึ้นพุทธศาสนิกชนชาวจีนจึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนิกชนชาวจีนจึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือสัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ขณะที่รัฐบาลจีนก็ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในกรุงปักกิ่ง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับนานาประเทศ ๔) พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี ก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ชาวเกาหลีนับถือศาสนาซามานอยู่ก่อน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๙๑๕ จีนก็ได้ส่งสมณทูตชื่อว่า “ซุนเตา” เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักโคคูเรียวบนคาบสมุทรเกาหลี และใน พ.ศ. ๙๒๕ พระภิกษุชาวอินเดียชื่อ มาลานันทะ ได้จารึกผ่านประเทศเกาหลีพร้อมกับเผยแผ่พระพุทธศาสนาประกอบดับอิทธิพลความเชื่อของจีนที่มีต่อเกาหนีจึงทำให้ชาวเกาหลีเริ่มหันมาสนใจและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลีระยะหนึ่ง จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จึงได้เสื่อมโทรมลงภายหลังจากราชวงศ์ยี่เข้ามามีอำนาจและสนับสนุนให้ลัทธิขงจื้อเป็นศาสนาประจำชาติและได้รับกาฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา มีการสร้างวัดและพระพุทธรูปอย่างแพร่หลาย รวมทั้งได้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาเกาหลีแล้วจารึกลงบนแผ่นไม้ แผ่นหินและพิมพ์เป็นหนังสือจำนวน ๕,๐๔๘ เล่ม รวมเรียกว่า พระไตรปิฏกฉบับสุง ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๑ เกาหลีตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น พุทธศาสนิกชนเกาหลีและญี่ปุ่นได้ร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเกาหลีให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดกิจกรรมทางพระพุทธสาสนาขึ้น เช่นการออกวารสารทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม เป็นต้น แต่เมื่อญี่ปุ่นถอนตัวออกไปประกอบกับปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้งจนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง พ.ศ. ๒๔๙๑ เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเทศ คือ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ จากระบอบการปกครองที่ต่างกันทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเฉพาะในประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีพุทธศาสนานิกชนชาวเกาหลีได้ประมาณ ๓๐ ล้านส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนานิกายเชนผสมกับความเชื่อในพระอมิตาพุทธและศรีอาริยเมตไตรย์ มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นหลายแห่ง เพื่อให้เป็นหน่วยงานกลางในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่จัดตั้งขึ้นอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิกา

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.นายกฤษณะ บุญเรือง ม.3/2 เลขที่1
2.นายธีรภัทร์ สีปลาด ม.3/2 เลขที่6
3.นายอิทธิพัฒน์ สวัสดิ์นะที ม.3/2 เลขที่7
4.นายเจษฎา บางสาลี ม.3/2 เลขที่8
5.นายพัทธนันท์ ประประโคน ม.3/2 เลขที่13
6.นายธนัตถ์ เจริญสุข ม.3/2 เลขที่15
7.ด.ญ.สมฤดี อินดีคำ ม.3/2 เลขที่19
8.ด.ญ.พิมยาดา วงค์คำราช ม.3/2 เลขที่21
9.ด.ญ.ภคนันท์ ยอดขยัน ม.3/2 เลขที่23
10.ด.ญ.พิมชนก พันธ์พูล ม.3/2 เลขที25