การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮอนโกชิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๑๐๙๕ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลพระเจ้ากิมเมจิ จักรพรรดิองค์ที่ ๑๙ ของญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าเซมาโว แห่งเกาหลี ส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้ากิมเมจิ พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรมและพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระเจ้ากิมเมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ากิมเมจิทรงรับด้วยความพอพระทัย นี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในสมัยพระจักรพรรดิกิมเมจิเป็นอย่างมาก แต่ภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พระจักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาปล่อยให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง จนถึงสมัยจักรพรรดินีซุยโก ได้สถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. ๑๑๓๕ เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้วางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่น และสร้างสรรค์วัฒนะธรรมพร้อมทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๑๓๗ พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย อันเป็นพระราชโองการพระจักรพรรดิที่ยกย่องพระพุทธศาสนา

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.นายกฤษณะ บุญเรือง ม.3/2 เลขที่1
2.นายธีรภัทร์ สีปลาด ม.3/2 เลขที่6
3.นายอิทธิพัฒน์ สวัสดิ์นะที ม.3/2 เลขที่7
4.นายเจษฎา บางสาลี ม.3/2 เลขที่8
5.นายพัทธนันท์ ประประโคน ม.3/2 เลขที่13
6.นายธนัตถ์ เจริญสุข ม.3/2 เลขที่15
7.ด.ญ.สมฤดี อินดีคำ ม.3/2 เลขที่19
8.ด.ญ.พิมยาดา วงค์คำราช ม.3/2 เลขที่21
9.ด.ญ.ภคนันท์ ยอดขยัน ม.3/2 เลขที่23
10.ด.ญ.พิมชนก พันธ์พูล ม.3/2 เลขที25