การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไทย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย ภายหลังการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งพระโสณะและพระอุตตระ เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา
๑) ยุคเถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช สันนิษฐานว่าพระโสณะและพระอุตตระได้เดินทางมายังสุวรรณภูมิในช่วงก่อน พ.ศ. ๕๐๐ ดังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยทวารวดีที่ขุดพบบริเวณภาคกลางของไทย เช่น สถูป ธรรจักรศิลากับกวางหมอบ ที่เป็นศิลปกรรมอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
๒) ยุคมหายาน ประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจกษัตริย์ศรีวิชัยได้ทรงอุปถุมภ์การเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายมหายานให้แพร่หลายไปทั่วคาบสมุทรภาคใต้ ดังมีหลักฐาน เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด เจดีย์พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๕๕๐ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ ได้ทรงแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองและพุทธศาสนานิกายมหายานมายังเมือละโว้ ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอยู่ก่อนแล้ว ส่งผลให้การนับถือศาสนาในเมืองละโว้ มีการผสานกันระหว่างพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นิกายมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ดังมีหลักฐานสำคัญ เช่น พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
๓) ยุคเถรวาทแบบพุกาม ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ สมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแห่งอาณาจักรพุกาม ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ได้ทรงแผ่อิทธิพลเข้ามายังล้านนาส่งผลให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบพุกาม ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางตอนเหนือของไทย หลักฐานสำคัญ ได้แก่ เจดีย์ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่
๔) ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ใน พ.ศ. ๑๖๙๖ พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชา กษัตริย์แห่งรังกา ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนา โดยรวมพระสงฆ์เป็นนิกายเดียวกัน และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๗ ขึ้น ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีพระสงฆ์จากดินแดนสุวรรณภูมิเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วนำกลับมาเผยแผ่ในดินแดนของตนเป็นจำนวนไม่น้อย สำหรับการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทย พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ เป็นต้นแบบที่คนไทยได้ยอมรับนับถือกันมาเป็นเวลาหลายสมัย สรุปได้

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.นายกฤษณะ บุญเรือง ม.3/2 เลขที่1
2.นายธีรภัทร์ สีปลาด ม.3/2 เลขที่6
3.นายอิทธิพัฒน์ สวัสดิ์นะที ม.3/2 เลขที่7
4.นายเจษฎา บางสาลี ม.3/2 เลขที่8
5.นายพัทธนันท์ ประประโคน ม.3/2 เลขที่13
6.นายธนัตถ์ เจริญสุข ม.3/2 เลขที่15
7.ด.ญ.สมฤดี อินดีคำ ม.3/2 เลขที่19
8.ด.ญ.พิมยาดา วงค์คำราช ม.3/2 เลขที่21
9.ด.ญ.ภคนันท์ ยอดขยัน ม.3/2 เลขที่23
10.ด.ญ.พิมชนก พันธ์พูล ม.3/2 เลขที25