พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี
เมื่อช่วง พ.ศ. 915 สมณทูตซุนเตา ได้นำพระพุทธศาสนาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรโกคุริโอ(ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน) พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว มีการสร้างวัดขึ้นมากมายผู้นำทั้งสามอาณาจักรในสมัยนั้นคือ โกคุริโอ ปีกเซ และซิลลา ก็นำถือพระพุทธศาสนาและให้การสนับสนุนกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ครั้นถึง พ.ศ.1935 พระพุทธศาสนาในเกาหลีก็เริ่มเสื่อมลงเมื่อราชวงศ์โซซอลที่นับถือลัทธิขงจื๊อขึ้นมามีอำนาจปกครองราชวงศ์นี้ได้เชิดชูลัทธิขงจื๊อให้เป็นศาสนาประจำชาติและกดขี่ผู้นับถือ พระพุทธศาสนาจนทำให้พระสงฆ์ต้องหนีออกไปอยู่อย่างสงบตามชนบทใน พ.ศ.2453 ประเทศเกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ออกกฎข้อบังคับควบคุมวัดวาอารามต่างๆส่งเสริมให้พระสงฆ์มีครอบครัวได้และดำรงชีวิตเหมือนฆราวาสพระพุทธศาสนาจึงยังคงสภาพเสื่อมลงดังเช่นที่ผ่านมาจนถึงช่วงตอนปลายสงครามโลกครั้งที่2 กองทัพสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น(เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น2ประเทศที่เส้นขนานที่38องศาเหนือตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียตมีประเทศชื่อว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่เรียกกันว่าเกาหลีเหนือ ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐเกาหลีที่เรียกกันว่าเกาหลีใต้)เมื่อเกาหลีพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นแล้วชาวพุทธทั้งหลายในเกาหลีโดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีการเคลื่อนไหวให้รัฐบาลยกเลิกข้อบังคับต่างๆซึ่งเกิดในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองพร้อมทั้งให้คณะสงฆ์มีการปกครองตนเองและได้มีการจัดทำธรรมนูญปกครองคณะสงฆ์ขึ้นด้วย
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี
เนื่องจากเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนาดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในเกาหลีใต้มากกว่าในปัจจุบันคณะสงฆ์ในประเทศเกาหลีถือว่าเป็นคณะสงฆ์ที่มีความก้าวหน้ามากในการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ต่างๆเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนากิจการที่พระสงฆ์เกาหลีใต้ทำกันอย่างเข้มแข็งคือ การศึกษา นอกจากจะมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี(สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณี)แล้วยังมีสถานศึกษาฝ่ายสามัญระดับต่างๆ ด้วยโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมาธิการฝ่ายการศึกษาของคณะสงฆ์มีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดคือ มหาวิทยาลัยดองกุก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 และมีศูนย์แปลพระไตยปิฎกเกาหลีตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ด้วย

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชาย ภาคิน กาสา เลขที่ 3
2.นาย อดิศักดิ์ พรหมมาศ เลขที่ 19
3.เด็กหญิง ญาณิศา พรังเดช เลขที่ 20
4.นางสาว นีรชา สารีคำ เลขที่ 22
5.เด็กหญิง สุพิชญา คำบัวโครต เลขที่ 30
6.นางสาว ปนัดดา ผุดผ่อง เลขที่ 31
7.นางสาว สุภาพร สุขประเสริฐ เลขที่ 32

8.เด็กหญิง สุชานันท์ หาญละคร เลขที่39
9.เด็กหญิง นิมิตตา ตัดใจ เลขที่ 40
10.เด็กหญิง ธนภรณ์ เชื้อนาค เลขที่41
11.เด็กหญิง เนตรขวัญ สุดไพศาล เลขที่42