รายการหลัก
หน้าหลัก การเผยแผ่ศาสนาในประเทศศรีลังกา การเผยแผ่ธศาสนาในประเทศจีน การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเกาหลี การเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น การเผยแผ่ศาสนาในประเทศทิเบต การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเนปาล การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกา การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศอังกฤษ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ทวีปออสเตรเลีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินเดีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ลาว การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เมียนมา(พม่า) การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เวียตนาม การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สิงคโปร์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย ผู้จัดทำ อ้างอิง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล


ชาวเยอรมันความสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ (Dr.Karl Seidenstuecker) ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนีและส่งเสริมการศึกษาทางวิชาพระพุทธศาสนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมันตะวันตกดำเนินการโดยเอกชน มีการจัดพิมพ์วารสารและจุลสารออกเผยแพร่ นอกจากนี้ก็มีการจัดปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ถึง ๖ ชั่วอายุคน คือ หนังสือพุทธวจนะ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน โดยพระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก ฉายาว่า ท่านญาณดิลก หนังสือเล่มนี้ได้รับได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอย่างมากมาย และถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นๆ กว่า ๑๐ ภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระพุทธศาสนาในเยอรมันก็หยุดการเคลื่อนไหว การดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธซบเซามาก เพราะพรรคสังคมนิยมแห่งชาติ ไม่ต้องการให้มีการดำเนินการของศาสนาใดๆ ทั้งนั้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง โดยเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สภาวการณ์อันเสื่อมทรามทางจิตใจทำให้ชาวเยอรมันหันมาพึ่งหลักธรรมทางศาสนา วัดวาอาราม ต่าง ๆ เริ่มบูรณะซ่อมแซม ชาวพุทธกลุ่มย่อยๆเริ่มกิจการทางศาสนา เริ่มมีการตีพิมพ์หนังสือชุดทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีผู้อ่านอย่างแพร่หลาย ความสนใจพระพุทธศาสนามีมากขึ้น เมื่อมีพระสงฆ์จากพม่าเดินทางเข้าไปในเยอรมนี ชาวเยอรมันตื่นเต้นสนใจมาฟังปาฐกถาของท่านเป็นอันมาก ใน พ.ศ.๒๔๙๑ สมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ได้ประกาศเอาพุทธสมาคมในมิวนิกเป็นสาขาทำให้พุทธสมาคมอื่นๆ ในเยอรมนีมีการประสานงานกับศรีลังกามากขึ้น และต่างก็สมัครเข้าเป็นสาขาของสมาคมมหาโพธิ ใน พ.ศ.๒๔๙๒ เยอรมนีถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ เยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมีท่าทีเป็นศัตรูต่อศาสนาต่างๆ เพราะลัทธิการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาในเยอรมนีตะวันออกจึงต้องเสื่อมลง มีเพียงองค์การเดียวที่ให้ความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนาคือ มหาวิทยาลัยเฮล ในเยอรมนีตะวันตกนั้นกฎหมายก็ไม่ได้รับรองพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้นับถือในเยอรมนี แต่การติดต่อระหว่างกลุ่มชาวพุทธในเยอรมนีตะวันตกและสมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ทำให้ชาวพุทธรวมตัวกันได้ มีสมาคมของชาวพุทธที่ดำเนินการเผยแพร่เอกสารต่างๆ และมีการบรรยายธรรมบันทึกเสียงออกเผยแพร่อีกด้วย พระพุทธศาสนาในเยอรมนีในปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมกันเป็นประเทศเดียวแล้ว เรียกว่า ประเทศเยอรมนี ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาศัยอยู่ในเมือง ฮัมบูร์ก เบอร์ลิน สตุตการ์ต มิวนิก โคโลญจ์ และ แฟรงเฟิร์ต เป็นต้น นอกจากนี้ พระไตรปิฎก ก็ได้รับการแปลและพิมพ์เป็นภาษษเยอรมันเรียบร้อยแล้ว ส่วนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ จะกระทำกันที่ศาสนาสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน วัดในประเทศเยอรมนี ได้แก่ วัดพุทธวิหาร, วัดไทยมิวนิค, วัดพุทธาราม เบอร์ลิน

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ศุภชัย อ่อนศรี ม.3/4 เลขที่ 8
2. ด.ช.วายุภักษ์ โชติธนศักดา ม.3/4 เลขที่ 14
3. ด.ช.ไกรวี จันทะนา ม.3/4 เลขที่ 6
4. ด.ช.ฐาปกรณ์ บุญมา ม.3/4 เลขที่ 17
5. ด.ช.ระพีพัฒน์ พึ่งตาล ม.3/4 เลขที่ 18
6. ด.ช.พัชรดนัย ก้อนเทียน ม.3/4 เลขที่ 19
7. ด.ญ.พิยดา วังคีรี ม.3/4 เลขที่ 24
8. ด.ญ.สุธาทิพบ์ กุลน้อย ม.3/4 เลขที่ 32
9. ด.ญ.มุธิตา สารพล ม.3/4 เลขที่ 37
10. ด.ญ.รัติกาล บุมี ม.3/4 เลขที่ 41