รายการหลัก
หน้าหลัก การเผยแผ่ศาสนาในประเทศศรีลังกา การเผยแผ่ธศาสนาในประเทศจีน การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเกาหลี การเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น การเผยแผ่ศาสนาในประเทศทิเบต การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเนปาล การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกา การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศอังกฤษ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ทวีปออสเตรเลีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินเดีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ลาว การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เมียนมา(พม่า) การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เวียตนาม การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สิงคโปร์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย ผู้จัดทำ อ้างอิง

การเผยแผ่พระพุทรศาสนาไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆนั้น เป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆในชมพูทวีปซึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ทรงอุปถัทภ์โดยให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่3 ในช่วง พ.ศ.๒๓๔ ณ วัดอโศการาม แคว้นมคธ และยังส่งพระธรรมทูต 9 สาย ออกไปประกาศ พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับชมพูทวีปต่อมาได้ขยายตัวยังประเทศและภูมิภาคต่างๆ จึงทำให้พระพุทธศานาได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทวีปเอเชียนับเป็นดินแดนแห่งแรกที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่3ซึ่งพระพุทธศาสนา ที่ได้เผยแผ่เข้ามานั้น แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท และนิกายอาจาริยวาท ต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรม และความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นของแต่ละ ประเทศ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการเป็นพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ หลายนิกาย เช่น นิกายเถรวาทเดิม นิกายตันตระ นิกายสุขาวดี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียจึงแตกต่างกันออกไป เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ดังนี้

สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน

สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย

สายที่ 3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์

สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย

สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี

สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล

สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ศุภชัย อ่อนศรี ม.3/4 เลขที่ 8
2. ด.ช.วายุภักษ์ โชติธนศักดา ม.3/4 เลขที่ 14
3. ด.ช.ไกรวี จันทะนา ม.3/4 เลขที่ 6
4. ด.ช.ฐาปกรณ์ บุญมา ม.3/4 เลขที่ 17
5. ด.ช.ระพีพัฒน์ พึ่งตาล ม.3/4 เลขที่ 18
6. ด.ช.พัชรดนัย ก้อนเทียน ม.3/4 เลขที่ 19
7. ด.ญ.พิยดา วังคีรี ม.3/4 เลขที่ 24
8. ด.ญ.สุธาทิพบ์ กุลน้อย ม.3/4 เลขที่ 32
9. ด.ญ.มุธิตา สารพล ม.3/4 เลขที่ 37
10. ด.ญ.รัติกาล บุมี ม.3/4 เลขที่ 41