รายการหลัก
หน้าหลัก การเผยแผ่ศาสนาในประเทศศรีลังกา การเผยแผ่ธศาสนาในประเทศจีน การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเกาหลี การเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น การเผยแผ่ศาสนาในประเทศทิเบต การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเนปาล การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกา การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศอังกฤษ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ทวีปออสเตรเลีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินเดีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ลาว การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เมียนมา(พม่า) การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เวียตนาม การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สิงคโปร์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย ผู้จัดทำ อ้างอิง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น


พระพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี โดย พระเจ้าเซมาโวแห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระจักรพรรดิกิมเมจิพร้อม ด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์ะพุทธธรรมและพระราชสาร์นแสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระจักรพรรดิกิม เมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ซึ่งเจริญเป็นอย่างมาก หลังจากพระจักรพรรดิกิมเมจิสิ้นพระชนม์แล้ว จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนา จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินีซุยโกได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้าง สรรค์วัฒนธรรมพร้อมทั้งทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1137พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่นจนได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือ ยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ ดหลัง จากเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ ประชาชนรวมใจกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์เจ้าชายโชโตกุขึ้น 1 องค์ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริวจิ หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็แบ่งเป็นหลายนิกาย จนถึงยุคเมอิจิพระ พุทธศาสนาก็เสื่อมลงอย่างหนักลัทธิชินโตขึ้นมาแทนที่ และศาสนาคริสต์ก็เริ่มเผยแผ่พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาใน ญี่ปุ่นทำให้การศึกษาเจริญขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไป กับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ธฺยาน หรือฌาน เป็นที่นิยมมากที่สุด) และนิกายนิจิเรนพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮอนโกชิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๑๐๙๕ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลพระเจ้ากิมเมจิ จักรพรรดิองค์ที่ ๑๙ ของญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าเซมาโว แห่งเกาหลี ส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้ากิมเมจิ พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรมและพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระเจ้ากิมเมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ากิมเมจิทรงรับด้วยความพอพระทัย นี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในสมัยพระจักรพรรดิกิมเมจิเป็นอย่างมาก แต่ภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พระจักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาปล่อยให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง จนถึงสมัยจักรพรรดินีซุยโก ได้สถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. ๑๑๓๕ เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้วางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่น และสร้างสรรค์วัฒนะธรรมพร้อมทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๑๓๗ พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย อันเป็นพระราชโองการพระจักรพรรดิที่ยกย่องพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น ต่างแข่งขันกันสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และสำนักปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือ ยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ เจ้าชายโชโตกุได้ทรงได้ทรงประกาศธรรมนูญ ๑๗ มาตรา ซึ่งเป็นธรรมนูญที่ประกาศหลักสามัคคีธรรมของสังคม องค์ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริวจิ ด้วยการเคารพเชื่อถือพระรัตนตรัย นอกจากนี้ยังทรงแสดงพระธรรมเทศนาซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการแสดงเทศนาเกี่ยวกับพระสูตรในประเทศญี่ปุ่น และอรรถกถาต่างๆ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น แม้ตัวเจ้าชายเองก็ได้ทรงแต่งคัมภีร์อรรถกถาของพระองค์ด้วย เจ้าชายโชโตกุสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๑๑๖๕ บรรดาประชาชนทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นอันมาก จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์เจ้าชายโชโตกุขึ้น ๑ องค์ หลังจากนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย พระพุทธศาสนาหยุดชะงักความเจริญก้าวหน้ามาตลอด เพราะนโยบายการปกครองประเทศบีบบังคับทางอ้อมจนถึงยุคเมอิจิ พระพุทธศาสนาก็ยิ่งเสื่อมลงไปอีก ลัทธิชินโตได้รับความนิยมนับถือแทนพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาถูกยกเลิกไปจากราชสำนักของพระจักรพรรดิ มีนโยบายล้มล้างพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นศาสนาคริสต์ก็เริ่มเผยแผ่พร้อมกับวัฒนะธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่น เมื่อการศึกษาเจริญมากขึ้นพระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ พระสงฆ์เริ่มงานการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจังกว้างขวางตามวิธีสมัยใหม่ ส่วนหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระสงฆ์แต่ละนิกายก็ยังคงจัดพิธีกรรมเป็นประเพณีตามนิกายของตน

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ศุภชัย อ่อนศรี ม.3/4 เลขที่ 8
2. ด.ช.วายุภักษ์ โชติธนศักดา ม.3/4 เลขที่ 14
3. ด.ช.ไกรวี จันทะนา ม.3/4 เลขที่ 6
4. ด.ช.ฐาปกรณ์ บุญมา ม.3/4 เลขที่ 17
5. ด.ช.ระพีพัฒน์ พึ่งตาล ม.3/4 เลขที่ 18
6. ด.ช.พัชรดนัย ก้อนเทียน ม.3/4 เลขที่ 19
7. ด.ญ.พิยดา วังคีรี ม.3/4 เลขที่ 24
8. ด.ญ.สุธาทิพบ์ กุลน้อย ม.3/4 เลขที่ 32
9. ด.ญ.มุธิตา สารพล ม.3/4 เลขที่ 37
10. ด.ญ.รัติกาล บุมี ม.3/4 เลขที่ 41