รายการหลัก
หน้าหลัก การเผยแผ่ศาสนาในประเทศศรีลังกา การเผยแผ่ธศาสนาในประเทศจีน การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเกาหลี การเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น การเผยแผ่ศาสนาในประเทศทิเบต การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเนปาล การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สหรัฐอเมริกา การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศอังกฤษ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ทวีปออสเตรเลีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินเดีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่ลาว การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เมียนมา(พม่า) การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่เวียตนาม การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่สิงคโปร์ การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินโดนีเซีย ผู้จัดทำ อ้างอิง

การเผยแผ่ศาสนาเข้าสู่อินเดีย


พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นท่ามกลางสังคมอินเดียทีมีความหลากหลายด้านความเชื่อ ศาสนา ลัทธิต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นก่อนพระพุทธศาสนา และที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ตลอดจนลัทธิที่เกิดขึ้นมาภายหลังอีกมากมาย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นมาในดินแดนชมพูทวีป หรืออินเดียเหมือนกับลัทธิศาสนาต่าง ๆ เหล่านั้น แต่พุทธศาสนามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิศาสนาต่าง ๆ ได้แก่การอุบัติขึ้นมาพร้อมกับการปฏิรูปสังคมอินเดียเสียใหม่ คือพุทธศาสนาได้เสนอหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งหักล้างกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวอินเดียไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์โดยสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพุทธศาสนาเคยได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาก่อน ย่อมจะทำให้สังคมอินเดียได้รับอิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อจากพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน เมื่อความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนอินเดียเป็นอย่างไร ก็ย่อมส่งผลให้สังคมเป็นไปอย่างนั้นด้วย แม้ว่าปัจจุบันนี้จะเหลือแต่ภาพเก่า ๆ ของพุทธศาสนาในความทรงจำของผู้คน หรืออาจจะลืมไปแล้วก็ตามสำหรับคนอินเดีย แต่อิทธิพลของของพุทธศาสนาที่เคยมีบทบาทต่อสังคมอินเดียนั้น ยังปรากฏอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์คือ การชี้นำแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่มวลประชากร เพื่อความสุขสงบแก่ชีวิตและสังคม แม้ว่าจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม พระองค์ใช้เวลาที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ๔๕ พรรษา เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนจนพุทธศาสนาแพร่หลายในแคว้นต่าง ๆ มีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสและอุทิศตนเป็นพุทธสาวก นับถือพระพุทธศาสนาจำนวนมากมาย พระพุทธองค์มิได้จำกัดบุคคลในการเทศน์สอน ว่าเป็นชนชั้นวรรณะใด เพศใด อาชีพใด หรืออายุวัยใด ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทุกระดับ ไม่จำกัดขอบเขต หากเขามีความสามารถที่จะรับรู้ธรรมได้ ก็ทรงให้โอกาสเสมอ จนมีพุทธศาสนิกชนทุกระดับ ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ จนถึงคนอนาถา ทั้งวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และจัณฑาล พุทธธรรมได้แทรกซึมอยู่ในบุคคลทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ สิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ถูกเปิดออกโดยหลักการของพุทธศาสนา เพราะเมื่อก่อนได้ถูกครอบงำ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพโดยความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ประชาชนส่วนมากได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต เช่นการมีความเชื่อเรื่องกรรม แทนความเชื่อเรื่องพระพรหมลิขิต การถวายทาน การปฏิบัติตามศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น แม้พระราชาผู้ปกครองแว่นแคว้นก็ทรงปกครองโดยทศพิธราชธรรม ดังปรากฏว่ามีพระราชาหลายพระองค์ที่ทรงเป็นพุทธสาวก เช่นพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาแห่งแคว้นโกศล เป็นต้น ทรงเป็นพุทธมามกะ และได้ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา ด้วยการทนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วย

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1. ด.ช.ศุภชัย อ่อนศรี ม.3/4 เลขที่ 8
2. ด.ช.วายุภักษ์ โชติธนศักดา ม.3/4 เลขที่ 14
3. ด.ช.ไกรวี จันทะนา ม.3/4 เลขที่ 6
4. ด.ช.ฐาปกรณ์ บุญมา ม.3/4 เลขที่ 17
5. ด.ช.ระพีพัฒน์ พึ่งตาล ม.3/4 เลขที่ 18
6. ด.ช.พัชรดนัย ก้อนเทียน ม.3/4 เลขที่ 19
7. ด.ญ.พิยดา วังคีรี ม.3/4 เลขที่ 24
8. ด.ญ.สุธาทิพบ์ กุลน้อย ม.3/4 เลขที่ 32
9. ด.ญ.มุธิตา สารพล ม.3/4 เลขที่ 37
10. ด.ญ.รัติกาล บุมี ม.3/4 เลขที่ 41