การเผยเเผร่พระพุทธศาสนาสู่ทวีปยุโรป

พระพุทธศาสนาในยุโรปยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังไม่มีอิทธิพลกว้างไกลมากนัก จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มชาวพุทธแถบเอเชียที่อพยพเข้าไปอยู่ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วัดเป็นแหล่งนัดพบปะ ประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบเอเชียในต่างแดน นอกจากนี้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนายังเป็นปรัชญาชีวิตที่ลึกซึ้ง ให้โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ส่วนกลุ่มชาวพุทธที่เป็นชาวยุโรปบางท่านบางกลุ่มที่เห็นความสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาก็ประยุกต์หลักพุทธธรรมไปใช้ เรียนรู้วิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้วศรัทธาละทิ้งศาสนาเดิมหันมานับมานับถือพระพุทธศาสนา เปลี่ยนรูปแบบชีวิตมาเป็นชาวพุทธใช้หลัก ธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักปรัชญาดำเนินชีวิต อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาในยุโรปมีอิทธิพลด้านแนวคิด หลักดำเนินชีวิต หลักปฏิบัติขัดเกลา ด้านการศึกษา ด้านสังคม และวัฒนธรรม ในวงที่จำกัดเฉพาะกลุ่มของตน ยังไม่มีอิทธิพลในระดับการเมืองหรือวงกว้างออกไป โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาก มีข้อมูลบอกว่า “ปัจจุบันประเทศตะวันตก ได้นำวิธีการแบบพุทธมาสอนประยุกต์ใช้ในท่ามกลางหลายๆ วิธีที่แพร่หลายไปยังตะวันตก วิธีวิปัสสนาก็เป็นวิธีหนึ่งที่แพร่หลายสู่ตะวันตก” ชาวตะวันตกเกิดความสนใจและศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันออกอย่างจริงจัง ทำให้เกิดองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญๆ ขึ้น โดยเริ่มต้นจากสถาบันการศึกษา สมาคมชาวพุทธ และองค์กรของคณะสงฆ์ ซึ่งมีประเด็นที่น่าศึกษา ดังนี้ 1) สถาบันการศึกษา : พระพุทธศาสนาในตะวันตกก่อเกิดจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่บรรจุวิชาการด้านตะวันออก จากนั้นก็มีนักคิดนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาขึ้นมีความศรัทธา บางท่านก็ออกบวชเป็นภิกษุ บางท่านก็เขียนหนังสือ แปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แล้วขยายตัวขึ้นเป็นกลุ่ม องค์กร 2) สมาคม (กลุ่มชาวพุทธ) : เกิดจากความมุ่งมั่นของปัจเจกบุคคล กลุ่ม องค์กร และอื่นๆ การดำเนินการของสมาคมให้อยู่ได้ ความเข้าใจพื้นฐานของสังคมตะวันตก ทุกชีวิตทุกองค์กรต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาเงื่อนไขเดียวกัน คือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ผูกพันทุกอย่างให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันโดยใช้ตัวเชื่อมคือ ระบบเงินตรา ในลักษณะนี้จึงไม่มีองค์กรใดจะอยู่อย่างอิสระอย่างปราศจากการเกี่ยวพันธ์กับสิ่งอื่น การขยายตัวของพระพุทธศาสนาในสังคมเงินตรา จึงกระทำได้ภายใต้เงื่อนไขของระบบทุนนิยมที่มีโครงสร้างเครือข่ายโยงใยทั่วถึงกันหมด การจะพัฒนาองค์กรพระพุทธศาสนาในยุคสังคมโลกาภิวัตน์ให้เติบโต จากเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปและแตกต่างกันจึงไม่อาจทำในรูปแบบเดิมเหมือนดังในอดีต และเหมือน กับที่เคยทำในช่วงสังคมโบราณที่มอบหมายให้สมณะทูตทำหน้าที่ การเติบโตของพระพุทธ ศาสนาในยุโรปลักษณะเช่นนี้อาจสอดคล้องและเหมาะสมตามบริบทของโลกปัจจุบันนี้ก็ได้ 3) องค์กรสังฆะ : ในสมัยโบราณการขับเคลื่อนของพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ อาศัยการทำหน้าที่ของพระสงฆ์(สมณทูต)เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์สายเถรวาทหรือมหายาน ถือว่าเป็นกลไกหรือแนวหน้าที่สำคัญในการผลักดันให้พระพุทธศาสนาขยาย ตัวไปทั่วสารทิศ จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ทราบ การปฏิบัติภารกิจด้านนี้ของคณะสงฆ์ในยุคใหม่อ่อนลง จึงเป็นที่สังเกตได้ว่าจากจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปยังตะวันตกต่างกันกับยุคโบราณ ที่ไม่ได้พึ่งพาคณะสงฆ์เป็นผู้บุกเบิกในช่วงต้น แต่เกิดจากความสนใจของชาวตะวันตกเอง ต่อมาคณะสงฆ์ก็เข้ามารับช่วงต่อเติมให้พระพุทธ ศาสนาในตะวันตกมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันมี 2 สาย คือ สายเถรวาทกับสายมหายาน ว่าโดยลักษณะการทำงานของคณะสงฆ์สองสายนี้มีวิธีการที่แตกต่างกันตามลักษณะของนิกายทั้งสอง กล่าวคือ สายมหายานมีการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยน แปลงของสังคมได้เร็ว จึงสามารถสนองตอบหรือบริการชุมชนได้กว้างและรวดเร็วทันเหตุ การณ์ ส่วนเถรวาทมีการเปลี่ยนแปลงช้าแต่หนักแน่น มั่นคง การเคลื่อนตัวเข้าไปในยุโรปของเถรวาทจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวา สร้างความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ การเติบโตของวัดพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยในช่วงแรกๆ ต้องพึ่งพาสมาคมต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนในการดำเนินการสนับสนุน ต่อมาก็ค่อยๆ พึ่งพิงน้อยลงและเริ่มอิสระเสรีมากขึ้น ในปัจจุบันบางวัดก็มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ เช่น วัดพุทธประทีป วัดอมรวดี วัดศรีนครินทรวราราม เป็นต้น การปรับตัวของคณะสงฆ์หรือกลุ่มองค์กรพุทธในตะวันตกอาจมีความกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงแรกของพัฒนาการ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของพระพุทธศาสนาในตะวันตกแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นองค์กรสงฆ์ องค์กรพุทธฝ่ายฆราวาส องค์กรต่างๆ เหล่านี้ทำให้พระพุทธศาสนาขยายตัวและมีความมั่นคงมากขึ้น