สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป
ในช่วงพุทธศตวรรษต้นๆ พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้าไปในยุโรเมื่อประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชียที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เขมร และบางส่วนของประเทศจีน ซึ่งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของชาติยุโรปได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ด้วยสำหรับสาเหตุแห่งความประทับใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของชาวยุโรปสามารถสรุปได้ดังนี้
(๑) การให้อิสระแก่ผู้ศึกษาและนับถือ ชาวยุโรปโดยทั่วไปมีความเชื่อในวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน จึงเชื่อในหลักการที่ไม่บังคับให้ผู้ศึกษาและนับถือชาวยุโรปโดยทั่วไปมีความเชื่อในวิทยาศาสตร์เป็นฟื้นฐาน จึงเชื่อในหลักการที่ไม่บังคับให้ผู้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเชื่อในวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน จึงเชื่อในหลักการที่ไม่บังคับให้ผู้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเชื่อในทันทีทันใดจนกว่าจะได้ศึกษาใคร่ครวญ ตรวจสอบพิจารณาและลงมือปฏิบัติแล้วได้ผลจริงตามที่ทรงสอนเสียก่อน
(๒) ความเป็นศาสนาแห่งเสรีภาพและเมตตาธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้ประชาคมโลกมีความรัก ความเตตากรุณาต่อกัน ไม่ข่มแหงรังแกเบียดเบียนทำร้ายกัน ร่วมทั้งส่งเสริมเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาค
ด้วยหลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ทำให้ชาวยุโรธสนใจที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาและประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้น การแผ่ขยายของพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่างๆในยุโรปมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบันดังนี้
๑) ด้านวรรณกรรม งานเขียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาถือเป็นส่วนสำคัญและเป็นแรงจูงใจประการหนึ่งที่ทำให้ชาวยุโรปสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเขียนชื่อ “ศาสนจักรแห่งบูรพทิศ” โดยสเปนเซอร์ อาร์ดี และงานเขียนของเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ชาวอังกฤษ ชื่อ “ประทีบแห่งเอเชีย”
นอกจากวรรณกรรมดังกล่าวแล้วยังมีการจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษโดยสมาคมบาลีปกรณ์และมีการออกวารสารทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ เช่นวารสาร “พระพุทธศาสนา” ของพุทธสมาคมระหว่างชาติสาขาลอนดอน “พุทธศาสตร์ปริทรรศน์” ของสมาคมเกรดบริเตน และวารสาร “ทางสายกลาง” ของพุทธสามาคมลอนดอน เป็นต้น รวมทั้งหนังสือและวารวาหลายภาษาที่ออกโดยสมาคมชาวพุทธของประเทศต่างๆ ในยุโรป
๒)ด้านการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิและสมาคมทางพระพุทธศาสนาขึ้นในประเทศต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่การเรียนรู้และการปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่นสมาคมบาลีปกรณืในประเทศอังกฤษได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก พุทธสมาคมระหว่างชาติสาขาลอนดอน พุทธสมาคมเมืองไลป์ซิกและศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยรมณี, พุทธสมาคมชื่อ “เลซามีดูบุดิสเม” (Les Amis du bouddhisme) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยการนำของ นางาสวคอนสแตนต์ ลอนสเบอรี่ พุทธสมาคมในรัสเซียเชื่อว่า “บิบลิโอเธคา พุทธิคา” พุทธสมาคมในกรุงเฮก ประเทศเนธอร์แลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้น ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศได้มีการจัดตั้งวัดขึ้นในประเทศต่างๆ ของยุโรป โดยมีพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ชาวต่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวพุทธในต่างประเทศ
๓) ด้านการประกอบกิจกรรมและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา มีการประกอบกิจกรรมและศาสนาพิธีทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัด มูลนิธีและพุทธสมาคมเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารและการปฏิบัติธรรม ทั้งการปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา