พระพุทธศาสนาในเอเชีย


ทวีปเอเชียเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในทวีปเอเชียแผ่ขยายเจริญรุ่งเรืองและมีรากฐานอันมั่นคงในทวีปเอเชียในเบื้องต้น จึงนับได้ว่าทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคแรกที่ได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาโดยตรง จุดเริ่มต้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชียที่มีหลักฐานชัดเจนเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๓ ภายหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ

๑) พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง และยังประโยชน์สุขแต่ชาวอินเดียเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ร่องรอยการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาในอินเดียก็ได้ปรากฏขึ้น อย่างไรก็ตามในยุคการกอบกู้อิสรภาพของอินเดีย พระพุทธศาสนาได้กลับมาเจริญขึ้นในอินเดียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีบุคคลหลายท่านที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของพระพุทธศาสนาที่มีต่อมวลมนุษยชาติ

๒) พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ประเทศศรีลังกานับได้ว่าเป็นดินแดนที่ประชาชนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงเรื่อยมา พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศรีลังกาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖ – ๒๘๗ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระมหินทเถระไปเป็นพระธรรมทูตประจำศรีลังกาในสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระมหากษัตริย์ศรีลังกา และภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญอย่างแพร่หลายแม้การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๔ ก็ได้กระทำกันที่เมืองอนุราธบุรี ประเทศศรีลังกา ในประเทศอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ยกย่องพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติอินเดียในอดีต ในประเทศศรีลังกา พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะก็ทรงประกาศรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประ จำชาติศรีลังกาเช่นเดียวกันและพระพุทธศาสนายังคงเป็นศาสนาประจำชาติของศรีลังกาสืบต่อเรื่อยมาแม้ในปัจจุบัน

๓) พระพุทธศาสนาในประเทศจีน พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจากเอเชียกลางและแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในศตวรรษต่อๆ มาโดยอาศัยเส้นทางการค้าขายที่จีนติดต่อกับอินเดียโดยตรง โดยคณะพูตจากอินเดียได้เดินทางมาจีนและพระภิกษุจีนได้จารึกไปอินเดีย

๔) พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี ก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ชาวเกาหลีนับถือศาสนาซามานอยู่ก่อน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๙๑๕ จีนก็ได้ส่งสมณทูตชื่อว่า “ซุนเตา” เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักโคคูเรียวบนคาบสมุทรเกาหลี และใน พ.ศ. ๙๒๕ พระภิกษุชาวอินเดียชื่อ มาลานันทะ ได้จารึกผ่านประเทศเกาหลีพร้อมกับเผยแผ่พระพุทธศาสนาประกอบดับอิทธิพลความเชื่อของจีนที่มีต่อเกาหนีจึงทำให้ชาวเกาหลีเริ่มหันมาสนใจและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลีระยะหนึ่ง จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จึงได้เสื่อมโทรมลงภายหลังจากราชวงศ์ยี่เข้ามามีอำนาจและสนับสนุนให้ลัทธิขงจื้อเป็นศาสนาประจำชาติและได้รับกาฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา มีการสร้างวัดและพระพุทธรูปอย่างแพร่หลาย

๕) พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ เมื่อจักรพรรดิเกาหลีมีพระประสงค์จะเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น จึงส่งคณะทูภนำพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไปถวายแก่จักรพรรดิญี่ปุ่น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงให้ความเลื่อมใสศาสนาชินโตอันเป็นศาสนาตั้งเดิมของบรรพชนญี่ปุ่น

พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับโดยเริ่มเป็นที่นิยมนับถือกันในหมู่ชนชั้นสูงก่อนแล้วค่อยแพร่หลายออกไปในหมู่ประชาชน เริ่มจากต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมาเมื่อเจ้าชายโซโตกุผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดินีซูอิโกะได้ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุกด้านและประกาศพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในยุคนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นยุค สัทธรรมไพโรจน์ส่งผลให้พระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

ผู้จัดทำ


1.ด.ช.ศุภสัณท์ มะนาวหวาน เลขที่7 ม.3/5
2.ด.ช.อภินันท์ อินธูป เลขที่10 ม.3/5
3.ด.ญ.กัญดา บุญศรี เลขที่24 ม.3/5
4.ด.ญ.สุพัตรา เเก้วคำ เลขที่31 ม.3/5
5.ด.ญ.พัชรดา อินชุรันต์ เลขที่32 ม.3/5
6.ด.ญ.ภัทรศรี ธนะสินธุ์ เลขที่36 ม.3/5
7 ด.ญ.บวรลักษณ์ นิลรัตน์ เลขที่37 ม.3/5
8.ด.ญ.วิลาสินีย์ สุขคงเจริญ เลขที่39 ม.3/5
9.ด.ญ.พิมพ์วิไล ดีดศรี เลขที่40 ม.3/5
10.ด.ญ.พิยดา เผือกผิว เลขที่42 ม.3/5