การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจีน


พระพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแผ่ในประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยจักรพรรดิฮั่นแม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นพระองค์ทรงส่งคณะทูตไปสืบทอดพระพุทธศาสนาในอินเดีย พร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือพระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง จักรพรรดิฮั่นแม่งเต้ ทรงสั่งให้สร้างวัดแป๊ะเบ๊ยี่(แปลว่า วัดม้าขาวเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าที่บรรทุกพระคัมภีร์)ที่นครลั่วหยาง ใฟ้เป็นที่อยู่ของพระทั้ง2รูปนั้น เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนนั้น ชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าต่อมาโม่วจื้อนักปราชญ์ผู้มีความสามารถและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้แสดงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้ เห็นถึงความจริงแท้อันลึกซ้งของพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวจีนเกิดความเลื่อมใส แปรพระสูตรเป็นภาษาจีนพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งขึ้นสมัยราชวงศ์ถัง(พ.ศ.1161-พ.ศ1450)พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดและมีการแปลพระสูตร จากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนมากมาย เมื่อประเทศจีนได้เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐใน พ.ศ 2455 พระพุทธศาสนาปล่อยปละละเลยและเสื่อลงตามลำดับ ต่อมา มีพระภิกษุจีนชื่อ ไท้สู ได้เป้นกำลังสำคัญในการกอบกู้พระพุทธศษสนา เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ชึ้นที่ วูซัน เอ้หมิง เสฉวน และ หลิ่งนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ ใน พ.ศ 2492 จีนปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามแฃประกอบศาสนกิจต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นความผิดกฏหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา พระคัมภีร์ต่างๆถูกเผาพระพุทธรูป และวัดถูกทำลายไปเป็นอันมาก

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศจีน พระพุทธสาสนาในประเทศจีนเป็ฯฝ่ายมหายาน ชาวจีนส่วนใหย๋นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่กับลัทธิขงจื๊อและเต๋า รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการศึกษา พระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก