พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

Group

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังลังกาทวีป(ศรีลังกา ปัจจุบัน) ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ( พ.ศ235-275)ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ โดยการนำของพระมหินทเถระและคณะสมณทูต ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปได้ทรงส่งมาในคราวทำสังคยานาครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอย่างดี ได้มีการส่งสมณทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาสู่ลังกาทวีปด้วย ต้นโพธิ์นี้ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากที่สุดในโลก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะยังทรงสร้างมหาวิหารและถูปาราม อันเป็นเจดีย์องค์แรกของลังกาไว้ ณ เมืองอนุราธปุระด้วย ในสมัยนั้นลังกาทวีปมีประชาชนอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าสิงหล และเผ่าทมิฬ ชนผ่าสิงหลทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนชนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าเทวานัม ปิยติสสะแล้วลังกาทวีปก็ตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ทมิฬ พระพุทธศาสนาในลังกาบางครั้งก็เจริญรุ่งเรือง บางครั้งก็เสื่อมลงจนถึงสูญสิ้นสมณวงศ์สลับกันไปเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์ของชนผ่าใดในระว่างสิงหลกับทมิฬขึ้นมามีอำนาจ ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ ทรงกอบกู้ราชบัลลังก์จากพวกทมิฬได้ และทรงจัดการทางฝ่ายราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้วก็ได้หันมากอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และส่งทูตไปขอพระภิกษุสงฆ์จากพม่ามาทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ทำให้สมณวงศ์ในลังกาได้กลับมีขึ้นอีกครั้ง ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และสร้างวัดวาอารมอีกมากมายจนลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธ ศาสนา แต่ภายหลังพวกทมิฬก็มารุกรานอีกและมีอำนาจเหนือชาวสิงหล ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้ง ระหว่างที่ลังกาอ่อนแอลงชนชาติโปรตุเกสและ ฮอลันดาก็ได้เข้ามาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจซึ่งชนทั้งสองพยามยาม ประดิษฐานคริสต์ศาสนาแต่ก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของชาวลังกามาเป็นเวลา ช้านาน ใน พ.ศ.2293 พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ ได้ส่งราชทูตไปขอพระสงฆ์จากประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศทรงส่งพระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 12 รูป เดินทางไปลังกา และได้ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวสิงหล พระสงฆ์ที่บรรพชาอุปสมบทใหม่หนี้เรียกว่า อุบาลีวงศ์หรือสยามวงศ์ หรือสยามนิกาย ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ของลังกามาจนกระทั่งทุกวันนี้

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กชายณฐนนท ภักดี เลขที่ 4
2.เด็กหญิงบุญยิสา พัสกุล เลขที่ 32
3.เด็กหญิงธัญพิชชา บุญปัน เลขที่ 37
4.เด็กหญิงนิรชา สมัครเขตรกิจ เลขที่ 39
5.เด็กหญิงณัฐวดี เรือนขำ เลขที่ 40
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1