ยุคประวัติศาสตร์
ใน พ.ศ. 1173 ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป สนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่ยุคต้น (พ.ศ. 976) พร้อมดำเนินการปฏิรูปศรัทธาทิเบต ต่อมาประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี 2 พระองค์ คือพระนางเหวินเฉิง พระธิดาของจักรพรรดิถังไท่จงแห่งจีน และพระนางภริคุติเทวี พระธิดาของพระเจ้าอัมสุวารมาแห่งเนปาล ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายานอย่างเคร่งครัด จึงได้นำพระพุทธรูปมาด้วยทั้งสองพระองค์ คือเจ้าหญิงเหวินเฉิง นำพระพุทธรูปชื่อโจโว มาประดิษฐานที่วัดซิลลากัง ในกรุงลาซา และเจ้าหญิงภริคุติเทวีได้นำพระพุทธรูปศากยมุนีที่สำคัญมาประดิษฐานที่วัดราโมเช ซึ่งเป็นวัดหลวง และมีความสำคัญรองเป็นอันดับสองในกรุงลาซา ช่วงนี้ได้มีชาวทิเบตเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษาในจีน และพระภิกษุชาวจีนก็มาศึกษาในทิเบตเพื่อแปลพระคัมภีร์และพระสูตรจำนวนมาก

ในยุคนี้พระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ทรงส่งทูตชื่อ ทอนมี สัมโภตะ ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วกลับทิเบต ท่านได้เริ่มงานประดิษฐ์อักษร และเขียนไวยากรณ์สอนชาวทิเบต โดยใช้อักษรพราหมี ที่นิยมใช้กันในกัศมีร์ (แคชเมียร์) และดำเนินงานเผยแผ่พุทธศาสนาทำให้ประชาชนเลื่อมใส นับว่าพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการทำให้ชาวทิเบตมีวัฒนธรรมด้านภาษา แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะได้รับความต้านทานจากความเชื่อเดิม การที่ภาษาทิเบตที่มีรากฐานมาจากอินเดียทำให้รักษาความหมายในการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาสันสกฤตเป็นทิเบตได้ดี หากต้นฉบับสันสกฤตสูญหาย ก็ใช้ต้นฉบับของทิเบตเทียบเคียงของเดิมได้ดีที่สุด

st

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ญ.ศุภธิดา วงศ์ปัญญา
2.ด.ญ.ธันยพร นาคหรั่ง
3.ด.ญ.เสาวลักษณ์ ขจีเจริญกุล
4.ด.ญ.โยษิตา กุนมล
5.ด.ญ.ปาณิศา ไทยรบ