คุรุรินโปเชเผยแผ่หลักธรรม
ใน พ.ศ. 1298-1340 กษัตริย์องค์ที่ 5 นับจากพระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ไปอาราธนา พระศานตรักษิต ที่เคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทามาเผบแผ่หลักคำสอนอันบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากท่านสอนแต่หลักธรรม แต่ไม่สอนเวทมนตร์คาถา แต่ชาวทิเบต มีความเชื่อเรื่องอำนาจภูติผีของลัทธิบอน และขณะนั้นเกิดโรคระบาด และภัยธรรมชาติ ทำให้ประชาชนเชื่อว่าท่านนำเหตุการณ์นี้มาด้วย

พระศานตรักษิตได้กลับไปอินเดีย แล้วอาราธนาพระปัทมสัมภวะ พระราชโอรสของพระเจ้าอินทรภูมิ แห่งแคว้นอุทยานซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน ให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิตันตระซึ่งถูกกับอัธยาศัยของประชาชน ท่านมีความชำนาญในเรื่องไสยศาสตร์สามารถปราบปีศาจ และทำให้ภูติผีปีศาจกลับมาสนับสนุนปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เหตุการณ์จึงสงบประชาชนฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายราชสำนักก็ยอมรับนับถือท่านว่าเป็น คุรุรินโปเช คือพระอาจารย์ใหญ่ของพวกเขา ท่านปัทมสัมภวะได้สร้างวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกของทิเบตในนาม วัดสัมเย ตามความเชื่อของอินเดียที่มีเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง มีอารามอยู่ 4 ทิศ และมีอารามด้านนอกอีกแปดทิศ เป็นสัญลักษณ์ของทีปในจักรวาล มีอีกวัดทางตะวันออก และตะวันตกเฉียงเหนือเป็นสัญลักษณ์พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในวัดนี้มีห้องสมุด ห้องนั่งสมาธิโดยอาจารย์สอนสมาธิจากจีน

พุทธศาสนาลัทธิตันตระ เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 มีชื่อกำหนดแยกจำเพาะออกไปว่า "นิกายเนียงมา (เนียงมาปะ) หรือนิกายหมวกแดง" ต่อมาพระศานตรักษิต ได้กลับทิเบตเพื่อปฏิบัติศาสนกิจอีกครั้งจนมรณภาพที่นั่น ท่านได้แปลพระคัมภีร์ และเป็นอุปัชฌาย์บวชให้แก่ชายหนุ่มทิเบต 5 คน เพื่อวางรากฐานการบวชสายทิเบต ตามพระราชดำริขอพระเจ้าตริสองเดซัน อุปสมบทกรรมที่นั่นมีพระนิกายสรวาทสติวาทร่วมด้วย 12 รูป พระภิกษุ 5 รูป ที่ได้รับการอุปสมบทนั้นได้เผยแผ่หลักธรรมประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าอุปัชฌาย์ คือท่านศานตรักษิตเป็นอนุรักษนิยม และมีพระนิกายสรวาทที่มีหลักธรรมเหมือนกับเถรวาทมากที่สุดในบรรดาที่ใช้คัมภีร์สันสกฤต จึงทำให้มีปัญญาชนที่สนใจหลักคำสอนอันบริสุทธิ์ไม่เจือไสยศาสตร์เข้ามาบวชถึง 300 คน

st

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ญ.ศุภธิดา วงศ์ปัญญา
2.ด.ญ.ธันยพร นาคหรั่ง
3.ด.ญ.เสาวลักษณ์ ขจีเจริญกุล
4.ด.ญ.โยษิตา กุนมล
5.ด.ญ.ปาณิศา ไทยรบ