ภิกษุณี
ในทิเบตไม่เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ในประวัติศาสตร์ มีแต่พระภิกษุสงฆ์ หรือลามะ และสามเณรีเท่านั้น ดังที่ ปีเตอร์ สกีลลิง ผู้เชี่ยวชาญทิเบต และบาลีสันสกฤต ชี้แจงว่า "ในหิมาวันตประเทศ ได้มีภิกษุนิกายมูลสรวาทสติวาทินเข้ามาเผยแผ่หลักธรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ประมาณ พ.ศ. 1300) แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าได้จัดพิธีอุปสมบทภิกษุณีสงฆ์เลย" ทั้งนี้เพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ การเดินทางไปทิเบตนั้นยากลำบากมากตามที่องค์ทะไลลามะกล่าวไว้ทำให้การบรรพชาอุปสมบทภิกษุณีที่ต้องมีปวัตตินี และกรรมวาจาจารย์ รวมทั้งภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์อีกฝ่ายละ 10 รูป ในการบวชภิกษุณีอย่างน้อยต้องมี 22 รูปขึ้นไป จึงจะทำพิธีอุปสมบทกรรมได้ แต่สามเณรีในทิเบตมีมานานแล้ว ทั้งมีระบบการศึกษาพุทธธรรมที่เข้มข้นอีกด้วย แม้องค์ดาไลลามะที่ 14 แห่งทิเบต ที่ลี้ภัยในอินเดียในปัจจุบัน ยังได้กล่าวไว้ในคราวประชุมศากยธิดา สมาคมสตรีของชาวพุทธนานาชาติครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย "เนื่องจากการเดินทางในอดีตลำบากมากภิกษุณีจึงไม่สามารถเดิมทางไปทิเบตได้ และเพราะไม่มีภิกษุณีวงศ์ในทิเบต พระสงฆ์ทิเบตจึงไม่ต้องอาบัติข้อที่เกี่ยวกับภิกษุณีตลอดไป นี้ถือว่าเป็นอานิสงส์ที่เราได้จากการไม่มีภิกษุณีในทิเบต" แต่นอกเขตทิเบตอย่างประเทศเนปาล, ภูฏาน และบางส่วนของอินเดีย มีการบวชเป็นภิกษุณีสงฆ์ในศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย

st

โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.ด.ญ.ศุภธิดา วงศ์ปัญญา
2.ด.ญ.ธันยพร นาคหรั่ง
3.ด.ญ.เสาวลักษณ์ ขจีเจริญกุล
4.ด.ญ.โยษิตา กุนมล
5.ด.ญ.ปาณิศา ไทยรบ