พระพุทธศาสนาในอินเดียปัจจุบัน

(อนาคาริกธรรมปาละ)

เริ่มต้นจากปีพุทธศักราช 2436 ที่อนาคาริกธรรมปาละได้พยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนยังถิ่นมาตุภูมิ หลังจากที่พระพุทธศาสนาได้เสื่อมและหายไปจากอินเดียนานเกือบเจ็ดร้อยปี จากนั้นเป็นต้นมาพระพุทธศาสนาก็ค่อยๆได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง มีพระสงฆ์ชาวอินเดียเข้ามาอุปสมบทมากขึ้น และในปีฉลองพุทธชยันตี 2500 แห่งการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาในปีพุทธศักราช 2499 ประเทศไทยเป็นปี พ.ศ. 2500 อันนับว่าเป็นกึ่งพุทธกาล รัฐบาลอินเดียก็ได้เชิญชวนให้ประเทศต่างๆที่นับถือพระพุทธศาสนาให้สร้างวัดและวิหารในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง ปัจจุบันจึงมีวัดของพระพุทธศาสนานานชาติจำนวนมากเกิดขึ้นในอินเดีย ในส่วนของพระสงฆ์ไทยก็ได้สร้างวัดในสังเวชนียสถานครบทั้งสี่แห่งคือที่ลุมพินี พุทธคยา สารนาถ และกุสินารา บทนี้เป็นบทสุดท้ายของหนังพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยใหม่ ความก้าวหน้าคือจุดสำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคใหม่ ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาในอินเดียได้กลับคืนสู่เกียรติคุณที่เคยหายสาบสูญไปอีกครั้ง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมให้กลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ความมีชีวิตชีวาพร้อมด้วยกระแสเสียงอันอ่อนหวานว่า “พุทธธัม สรณัม คัจฉามิ” ได้กระหึ่มขึ้นอีกครั้ง พระพุทธเจ้าก็ได้เป็นประกายดาวที่ส่องแสงนำทางแก่มหาชนกลุ่มใหญ่ในอินเดียอีกด้วย

ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าและพิธีกรรมของชาวพุทธปัจจุบันยังได้รับการเคารพยกย่องโดยตรง ในท่ามกลาวชาวพุทธในอินเดีย ข้อเท็จจริงคือหัวสิงห์สี่เศียรบนเสาหินของพระเจ้าอโศกที่สารนาถ ยังเป็นสัญญลักษณ์แห่งชาติและกงล้อธรรมจักรของชาวพุทธ(ธรรมจักร)ได้ปรากฎในธงชาติ พระพุทธเจ้าจึงสามารถอ้างถึงหน้าที่ในการปกครองของอินเดียสมัยใหม่ พระพุทธศาสนาจึงเป็นพลังทางจิตวิญญาณที่มีชีวิตในอินเดียอย่างแท้จริงอีกครั้งหนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า หลังมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้าไม่นาน ความแตกต่างได้เกิดขึ้นในหมู่สาวกในการอธิบายตีความหมายในคำสอนของพระพุทธองค์ การกระทำสังคายนาครั้งที่สองจึงได้จัดขึ้น หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี ที่ไวสาลี จึงได้แยกเป็น 2 นิกายตามความคิดเห็นคือเถรวาทและมหาสังฆิกะ ในสมัยพระเจ้าอโศก ได้มีนิกายที่สำคัญอยู่ถึง 18 นิกาย แต่ละนิกายการตีความคำสอนตามตำราด้วยตนเอง ในขั้นอันติมสัจจะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 มหายานได้กลายเป็นเป็นนิกายที่สำคัญที่มีพลังเทียบเท่ากับเถรวาท นิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นตามคัมภีร์บาลี สารสำคัญที่มหายานมีความเห็นแตกต่างจากเถรวาทมี 3 ประการคือ (1) ความเข้าใจในเรื่องพระโพธิสัตว์ (2) จุดมุ่งหมายของความเป็นพุทธะและ (3) ความคิดในเรื่องตรีกาย


มหายานได้แสดงอุดมคติเรื่องโพธิสัตว์อย่างเด่นชัด และเน้นไปที่ความหลุดพ้นของสรรพสัตว์มากกว่าการหลุดพ้นในของปัจเจกบุคคล ตามอุดมคติของการบรรลุความเป็นอรหัตต์ในเถรวาท มหายานค่อนข้างจะให้ความสำคัญต่อพุทธะภายนอก เหมือนกับเทพเจ้าในศาสนาที่เป็นฝ่ายเทวนิยม เหตุผลโดยตรงนี้ จึงมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดเทพเจ้าของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก ในระหว่างพระโพธิสัตว์ที่ได้รับความนิยมผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาคือพระอวโลกิเตศวร (แสดงปุคคลาธิษฐานของความเมตตา),พระมัญชุศรี(แสดงปุคลาธิษฐานของปัญญาภายนอก)และพระวัชรปาณี (แสดงปุคลาธิษฐานแห่งพลัง) เป็นผลมาจากการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ มหายานยังได้วางรูปแบบพระพุทธศาสนาวัชรญาณหรือตันตริก วัชรญาณ(ยานแห่งมนตร์คาถา)เจริญรุ่งเรืองในอินเดียตะวันออกในพุทธศตวรรษที่ 13 และยังได้เผยแผ่เข้าสู่ธิเบตโดยปัทมสัมภวะและนักปราชญ์อินเดียคนอื่นๆ ในอินเดียสมัยใหม่ วัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานมีอยู่ทั่วไป ที่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมเถรวาทในอินเดียมีประมาณ 92 เปอร์เช็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 8 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในแถบภูเขาหิมาลัยเป็นฝ่ายมหายาน ชาวพุทธอินเดียจึงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มแรก อยู่รอดมาจากช่วงที่พระพุทธศาสนายังอยู่ กลุ่มนี้คือชาวพุทธบารัวแห่งเบงกอล,เผ่าจักมาแห่งไตรปุระและไมโซรัม ชาวพุทธแห่งลาดัคห์,หิมาจัลประเทศ(ลาหุล,สปิติ,คินนาอุระ,และหุบเขาปันกิ)และในอรุนาจัลประเทศ (เอ็นอีเอฟเอ) กลุ่มที่สอง มีเชื้อสายมาจากเนปาล,ไทยและพม่านั่นคือตะมังและเซอร์พัส ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ดาร์จิลิงและเมืองจัลไปคุรี รัฐเวสท์ เบงกอล และชาวไทแห่งอัสสัม กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่เป็นตัวแทนที่สนใจพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นผลมาจากขบวนการเผยแผ่ที่นำโดยมหาโพธิสมาคม กลุ่มที่ปฏิบัติตามดร. เอ็มเบ็ดการ์ ที่นำเอาพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในดำเนินชีวิตในเดือนตุลาคม 2499

(พุทธชยันตี)

หลังจากนั้นก็มีกลุ่มที่สี่คือชาวธิเบตที่เดินทางมาพร้อมกับองค์ทะไล ลามะในปีพุทธศักราช 2502 จึงเป็นกลุ่มชาวพุทธอีกกลุ่ม ในชาวพุทธสี่กลุ่มนั้น กลุ่มที่ปฏิบัติตามดร. เอ็มเบ็ดการ์หรือชาวพุทธใหม่ที่เรียกกันในปัจจุบัน มีรูปแบบที่เหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ มีประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนชาวพุทธทั้งหมดในอินเดีย ชาวพุทธใหม่ส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐมหาราษฎร์ (ประมาณ 4 ล้าน) มีที่พำนักกระจัดกระจายอยู่ทั่วอินเดีย มวลชนที่ดำเนินการโดยดร.เอ็มเบ็ดการ์ยังคงดำเนินการอย่างมั่นคง สถานะของกลุ่มนี้ยังคงจะได้รับการปรับปรุงต่อไป ในปีพุทธศักราช 2434 ในอินเดียมีชาวพุทธอยู่เพียง 50,000 คน หลังจากนั้นมาอีก 60 ปีในปีพุทธศักราช 2494 จำนวนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนาได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 180,823 คน เนื่องจากผลการดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของดร. เอ็มเบ็ดการ์ พระโพธิสัตว์ในยุคสมัยใหม่ ผู้ซึ่งปฏิบัติการอย่างมหัศจรรย์ที่นาคปุร์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 โดยมีผู้ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธตามจำนวน 5 แสนคน สิ่งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ศาสนาของโลกเลย ที่จำนวนคนจำนวนมากจะยึดเอาบุคคลคนเดียวเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนศาสนา แต่นับเป็นเรื่องที่โหดร้าย ในการที่ดร. เอ็มเบ็ดการ์ได้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในวันที่ 6 ธันวาคม 2499 ถึงแม้ว่าโศกนาฏกรรมนี้ การเปลี่ยนแปลงศาสนายังคงดำเนินต่อไปไม่ได้เสื่อมถอยลงเลย จึงไม่น่าประหลาดใจที่สัมมะโนประชากร ในปีพุทธศักราช 2504 ยังมีเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ยิ่งกว่า

(ดร.เอ็มเบ็ดการ์)

จำนวนประชากรชาวพุทธในปีพุทธศักราช 2504 เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนคือมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 1661 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือจากจำนวน 180,823 คนเพิ่มขึ้นเป็น 3,250,227 คนภายในเวลาเพียง 5 ปี(พ.ศ 2499-2504) ในกรณีของรัฐมหาราษฎร์ บ้านเกิดของบาบาสาเหบ เอ็มเบ็ดการ์ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนสูงสุด จากจำนวนน้อยนิดในปีพุทธศักราช 2494 มีจำนวน 2,487 คน ประชากรชาวพุทธมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2,789,501 คนในปีพุทธศักราช 2504 ในปีพุทธศักราช 2524 ชาวพุทธในอินเดียมีจำนวน 4,719,796 คิดเป็น 0.71 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ (665 ล้านคน) รัฐมหาราษฎร์มีชาวพุทธมากที่สุดคือ 3,946,149 คน หรือ 83.60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรชาวพุทธในอินเดีย ในแปดรัฐที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 50,000 คนคือ เวสท์ เบงกอล (156,296),สิกขิม (90,848),อรุนาจัลประเทศ (86,483),มัธยประเทศ (75,312),จัมมูและแคชเมียร์ (69,706),ไตรปุระ( 54,806), อุตตระ ประเทศ (54,542),และหิมาจัลประเทศ (52,629) อีกหกรัฐที่มีจำนวนมากกว่า 5,000 คนคือ การนาตกะ (42,147),ไมโซรัม (40,429),อันธระ ประเทศ (12,830),โอริสสา(8,028),คูจราต (7,550)และเดลี (7,117) ถึงแม้จะมีการปรับปรุงฟื้นฟูในลักษณะเฉพาะตัว การปฏิรูปและการทำให้ฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้ง พระพุทธศาสนาในอินเดียจึงย้อนกลับเข้าไปสู่ความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองเหมือนในอดีตอีกครั้ง พลังทางวิญญาณและพลังแห่งชีวิตในการปฏิบัติ ยังคงมีชีวิตชีวา พร้อมกับพลังชีวิตที่เข้มข้นของศาสนาที่ยังคงมีชีวิต ยิ่งกว่านั้น ยังมีชาวอินเดียจำนวนมากแสวงหาที่พึ่งในพระพุทธศาสนาเพื่อความบรมสุขในนิพพาน เพราะความแตกต่างทางสังคมและ ความเชื่อและประเพณีที่ไร้เหตุผล พระพุทธศาสนาในอินเดียดูเหมือนจะมีความสดใสขึ้น ความหวังที่พุทธธรรมจะส่งประกายโชติช่วงเหมือนประทีปนำทางในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้า บทสรุปของเราในความสดใสของพระพุทธศาสนาในอินเดียในอนาคต มีความมั่นคงแข็งแรงโดยความสนใจที่เกิดขึ้นในชีวิตและคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนของสัคม เพื่อทำประเด็นนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้รวบรวมงานเขียนที่เขียนสรรเสริญพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงในอินเดียปัจจุบันดังต่อไปนี้


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

ผู้จัดทำ

1.นายอนุชา สังข์จีน เลขที่ 12 ม.3/1
2.ด.ญ.พรรณทิวา ห้อยดอกหอม เลขที่ 20 ม.3/1
3.ด.ญ.พัชรี ศิลาเลิศ เลขที่ 22 ม.3/1
4.ด.ญ.ทิฆัมพร ทองไทย เลขที่ 25 ม.3/1
5.ด.ญ.ธิดารัตน์ สกุลตั้ง เลขที่ 26 ม.3/1