รายการหลัก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังจีน

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจากเอเชียกลางและแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในศตวรรษต่อๆ มาโดยอาศัยเส้นทางการค้าขายที่จีนติดต่อกับอินเดียโดยตรง โดยคณะพูตจากอินเดียได้เดินทางมาจีนและพระภิกษุจีนได้จารึกไปอินเดีย จึงเริ่มรับเอาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการในสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไปสืบพระพุทธศาสนาทางตอนเหนือของอินเดีย เมื่อเดินทางกลับประเทศจีน คณะทูตได้นิมนต์พระเถระมาด้วย ๒รูปคือ พระกัสปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ และจักพรรดิจีนได้ทรงสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในจีนเป็นครั้งแรกนอกพระนคร ชื่อว่า “วัดแปะเบ้ยี่ แปลว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าซึ่งบรรทุกพระธรรมคัมภีร์มาสู่ประเทศจีน อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ฮั่นยังไม่แพร่หลายมากนัก เป็นแต่เพียงนับถือกันในหมู่ชนชั้นสูง จนเมื่อมีการแปลพระสูตรสำคัญทางฝ่ายมหายาน เช่นคัมภีร์พระอภิธรรมและปรัชญาปารมิตาสูตร คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเริ่มแพร่ขยายกว้างขวางออกไป พระพุทธศาสนาในประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในบางยุคสมัยและเสื่อมลงต่ำสุดในบางช่วงเวลา เหตุผลของความเจริญและความเสื่อมแตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย จนถึงยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๒ พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบอย่างมาก วัดถูกยึดเป็นสถานที่ทางราชการ ห้ามประกอบศาสนากิจต่างๆ การเผยแผ่หลักธรรมคำสอนถือเป็นเรืองต้องห้ามและผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสึกขา พระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผาทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๒ ต่อมาภายหลังจากการอสัญกรรมของเหมา เจ๋อ ตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลชุดใหม่ของจีนได้ผ่อนปรนการนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อให้กับประชาชนมากขึ้นพุทธศาสนิกชนชาวจีนจึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนิกชนชาวจีนจึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือสัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ขณะที่รัฐบาลจีนก็ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในกรุงปักกิ่ง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับนานาประเทศ


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กหญิงนันทวิมล เศษโถ เลขที่19 ม.3/9
2.เด็กหญิงปณิดา ศรราช เลขที่20
3.เด็กหญิงวิลัยพร สวัสดิ์นะที เลขที่22
4.เด็กหญิงเกตุวดี เขียนแก้ว เลขที่23
5.เด็กหญิงศิริพร อ่อนศรี เลขที่่24
6.เด็กหญิงสุภาลักษณ์ มุ้ยแก้ว เลขที่25
7.เด็กหญิงชลธิชา แก้วจีน เลขที่26
8.เด็กหญิงเนตรประภา บำเพ็ญเชาวน์ เลขที่27
9.เด็กหญิงพิชชาพร คะโมระวงศ์ เลขที่28
10.เด็กหญิงอริสรา อุดมทรัพย์ เลขที่29

11.เด็กหญิงจันทรวิมล จันทร์ขำ เลขที่30
12.เด็กหญิงอรวรรณ แสงมณี เลขที่31
13.เด็กหญิงจริยาภรณ์ ทาจู เลขที่32
14.เด็กหญิงชลธิชา กันนิล เลขที่33
15.เด็กหญิงพัชรินทร์ คำพรรณ์ เลขที่34
16.เด็กหญิงพัชราภรณ์ ถือนูศร เลขที่35
17.เด็กหญิงกัลยากร สิงห์บุญ เลขที่36
18.เด็กหญิงสุกัญญา อินทร์ตา เลขที่37
19.เด็กหญิงสลิลทิพย์ พูลแสนรักษ์ เลขที่38