การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป

1.พระพุทธศาสนาในประเทศสหราชอาณาจักร

คนส่วนใหญ่ถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่นได้แก่ ศาสนาพุทธ ฮินดู ยิว อิสลามและซิกข์ ประมาณ 23% ของประชากรไม่มีการยึดถือ ศาสนาใดๆเป็นหลัก ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ แต่อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังมีสังคมที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ เป็นสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับศาสนาอื่นๆ ด้วย โบสถ์ ในปัจจุบัน มีชาวอังกฤษหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานในวารสารทางสายกลางของพุทธสมาคมลอนดอน ระบุว่า มีสมมาคมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษประมาณ ๓๐ แห่ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ชนชาวอังกฤษ จึงก่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษค่อยๆ เป็นปึกแผ่นมั่นคงและก้าวหน้าไปโดยลำดับ

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศสหราชอาณาจักร

คนส่วนใหญ่ถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่นได้แก่ ศาสนาพุทธ ฮินดู ยิว อิสลามและซิกข์ ประมาณ 23% ของประชากรไม่มีการยึดถือ ศาสนาใดๆเป็นหลัก ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ แต่อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังมีสังคมที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ เป็นสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับศาสนาอื่นๆ ด้วย โบสถ์ ในปัจจุบัน มีชาวอังกฤษหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานในวารสารทางสายกลางของพุทธสมาคมลอนดอน ระบุว่า มีสมมาคมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษประมาณ ๓๐ แห่ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ชนชาวอังกฤษ จึงก่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษค่อยๆ เป็นปึกแผ่นมั่นคงและก้าวหน้าไปโดยลำดับ

2.พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมณี

ชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเกนสติกเกอร์ ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ. 2446 เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้มีการจัดแสดงปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมาก คือ หนังสือพระพุทธวจนะ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาบาลี เป็นภาษาเยอรมัน โดยพระภิกษุชาวเยอรมัน ท่านญาณดิลก หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอื่น ๆ กว่า 10 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย ในปี 2491 สมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ประกาศเอาพุทธสมาคมมิวนิกเป็นสาขาทำให้พุทธสมาคมอื่น ๆ ในเยอรมนีมีการศึกษาพระพุทธศาสนาคือ มหาวิทยาลัยเฮล ในเยอรมนีตะวันตก การประสานกันกับทางศรีลังกามากขึ้น และต่างก็สมัครเข้าเป็นสาขาของสมาคมมหาโพธิดำเนินการเผยเอกสารต่าง ๆ

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมณี

ประเทศเยอรมนีมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) มีประชากรประมาณ 82,438,000 คน (พ.ศ.2548) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 68 % ) และจากการสำรวจประชากรเยอรมันมากกว่า 10,000 กลุ่มในปี พ.ศ.2549 พบว่า มีคนที่ไม่มีศาสนา (Non-Religious) หรือผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า (Atheists) อยู่ถึง 29.6 % คิดเป็น 24,400,000 คน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดสำหรับพุทธศาสนิกชนในประเทศเยอรมนีนั้น จากสำรวจในปี พ.ศ.2549 พบว่ามีประมาณ 230,000 คน มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาประมาณ 661 องค์กร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

3.พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยผ่านทางพ่อค้าชาวดัตช์ และชาวพื้นเมืองจากประเทศศรีลังกา ที่เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ได้มีชาวพุทธในกรุงเฮกได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยการจัดตั้งชมรมชาวพุทธดัตช์ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์ของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อดำเนินการเผยแผ่และกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน เริ่มแรกจะมีการจัดตั้งองค์กร หรือพุทธสมาคมขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อพบปะสังสรรค์ในระหว่างชาวพุทธด้วยกัน และอาจจะมีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น สหภาพพระพุทธศาสนาแห่งออสเตรีย ศูนย์ธรรมจักรแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมาคมสหายแห่งพระพุทธศาสนาในฟินแลนด์ พุทธสมาคมสวีเดน เป็นต้น ซึ่งพุทธสมาคมและกลุ่มชาวพุทธต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เกือบทุกประเทศได้แปลพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นๆทางพระพุทธศาสนาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของประเทศนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการจัดทำวารสารจุลสารต่าง ๆ ออกเผย นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนในทวีปยุโรปที่เป็นชาวไทยก็สร้างวัดในประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปหลายวัด ได้แก่ วัดธรรมาภิรมย์ เมืองชัวซี เลอรัว ประเทศฝรั่งเศส วัดพุทธาราม เมืองวัลเวค ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมูลนิธิวัดไทยเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย เพราะในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการสร้างวัดไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖ โดยส่งพระสงฆ์จากเมืองไทยไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนามีผลทำให้จำนวนผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ วัดในประเทศเนเธอร์แลด์ คือ ๑. วัดพุทธาราม ๒. วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กหญิงรัชธิดา สังข์ทอง เลขที่20 ม.3/6
2.เด็กหญิงพรทิพา พลท้าว เลขที่22 ม.3/6
3.เด็กหญิงมณีรัตน์ คลังระหัด เลขที่25 ม.3/6
4.เด็กหญิงปิยาภัทร จวงจันทร์ เลขที่30 ม.3/6
5.เด็กหญิงสุมิตรา โพธิ์มิ เลขที่31 ม.3/6

6.เด็กหญิงเบญจมาศ คุ้มภัย เลขที่34 ม.3/6
7.เด็กหญิงรมณ๊ ม่วงสอน เลขที่37 ม.3/6
8.เด็กหญิงชุตินันท์ กองสินอยู่ เลขที่38 ม.3/6
9.เด็กหญิงดวงกมล งามหนัก เลขที่39 ม.3/6
10.เด็กหญิงมณินทร สฤษฏ์อังกูร เลขที่40 ม.3/6
11.เด็กหญิงศุภิสรา เต่าแก้ว เลขที่32 ม.3/6