การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน

พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามายังภูฏาน

พุทธศาสนาเคยได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาก่อน ย่อมจะทำให้สังคมอินเดียได้รับอิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อจากพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน เมื่อความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนอินเดียเป็นอย่างไร ก็ย่อมส่งผลให้สังคมเป็นไปอย่างนั้นด้วย แม้ว่าปัจจุบันนี้จะเหลือแต่ภาพเก่า ๆ ของพุทธศาสนาในความทรงจำของผู้คน หรืออาจจะลืมไปแล้วก็ตาม อิทธิพลของพุทธศาสนาที่เคยมีบทบาทต่อสังคมอินเดียนั้น ยังปรากฏอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วพระพุทธองค์ชี้นำแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่มวลประชากร เพื่อความสุขสงบแก่ชีวิตและสังคม พระองค์ใช้เวลา๔๕ พรรษา เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนจนพุทธศาสนาแพร่หลายในแคว้นต่าง ๆ มีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสและอุทิศตนเป็นพุทธสาวก นับถือพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ประชาชนส่วนมากได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต

เมื่อภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาได้มีความเจริญรุ่งเรืองไปในแคว้น ต่าง ๆ ได้มีนิกายต่าง ๆ เกิดขึ้นทั้งนิกายดั้งเดิมและนิกายใหม่ ทำให้พุทธศาสนาแพร่หลายไปพร้อมกับความเสื่อมที่ตามมากับความแพร่หลาย ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ตั้งแต่บัดนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมจากอินเดีย โดยถูกครอบงำจากอิทธิพลของศาสนาฮินดู เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาเถรวาทมาก ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองบ้านเมืองให้สงบร่มเย็น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ขจัดภัยร้ายของพระพุทธศาสนาด้วยการขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวช และส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในดินแดนประเทศต่าง ๆ รวม 9 สาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑ ในยุคนี้ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รจนาคัมภีร์ขึ้นมากมาย ด้านศิลปกรรมทางพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เช่นศาสนสถาน และศาสนวัตถุ ได้สร้างขึ้นอย่างงดงาม

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน

ชาวภูฏานส่วนใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนานั้นโดยเฉพาะพระสงฆ์และผู้อาวุโสที่นับถือจะมีการสวดมนต์ นับลูกประคำอยู่เป็นกิจวัตรประจำวันเสมอ ชาวภูฏานบางครอบครัวที่มีลูกชายก็นิยมส่งบุตรหลานตนไปบวชเรียนตั้งแต่เด็ก เพื่อศึกษาความรู้วิชาการ ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เช่น การเรียนพระสูตร พระวินัย ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวภูฏานและวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กหญิงรัชธิดา สังข์ทอง เลขที่20 ม.3/6
2.เด็กหญิงพรทิพา พลท้าว เลขที่22 ม.3/6
3.เด็กหญิงมณีรัตน์ คลังระหัด เลขที่25 ม.3/6
4.เด็กหญิงปิยาภัทร จวงจันทร์ เลขที่30 ม.3/6
5.เด็กหญิงสุมิตรา โพธิ์มิ เลขที่31 ม.3/6

6.เด็กหญิงเบญจมาศ คุ้มภัย เลขที่34 ม.3/6
7.เด็กหญิงรมณ๊ ม่วงสอน เลขที่37 ม.3/6
8.เด็กหญิงชุตินันท์ กองสินอยู่ เลขที่38 ม.3/6
9.เด็กหญิงดวงกมล งามหนัก เลขที่39 ม.3/6
10.เด็กหญิงมณินทร สฤษฏ์อังกูร เลขที่40 ม.3/6
11.เด็กหญิงศุภิสรา เต่าแก้ว เลขที่32 ม.3/6