การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

พนะพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามายังเนปาล

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเนปาลโดยผ่านทางประเทศอินเดีย แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ และทรงห้ามพระญาติฝ่ายศากยะกับฝ่ายโกลิยะวิวาทกัน ซึ่งหมายความว่าเคยเสด็จในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานพระอานนท์ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณนั้น แสดงว่าชาวเนปาลส่วนหนึ่งนับถือพระพุทธศาสนามานานแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว พระเจ้าอโศกและเจ้าหญิงจารุมตีได้ทรงสร้างวัดและเจดีย์หลายแห่ง ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่นครกาฐมาณฑุในปัจจุบัน

ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหาร และเบงกอล ในประเทศอินเดีย พระภิกษุจากอินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยในเนปาล ซึ่งภิกษุเหล่านั้นก็ได้นำคัมภีร์อันมีค่ามากมายไปด้วย และมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนนี้ และเมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทา (ในประเทศอินเดีย) ถูกทำลายซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากประเทศอินเดียแล้ว ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลในยุคแรก เป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือแบบเถรวาทต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไป เนปาลได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ ซึ่งใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์

นอกจากนี้ได้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ๆ เกิดขึ้นอีก ๔ นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ ซึ่งแต่ละนิกายก็ยังแยกเป็นอีกหลายสาขา ปัจจุบันมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาทขึ้นในประเทศเนปาล โดยส่งภิกษุสามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท นอกจากนั้นคณะสงฆ์เนปาลยังได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศไทยไปให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวเนปาล ณ กรุงกาฐมาณฑุ พร้อมทั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้สมาคมธัมโมทัยสภา ได้อุปถัมภ์ให้พระภิกษุจากประเทศศรีลังกาและพระภิกษุสงฆ์ในประเทศเนปาลที่ได้รับการอบรมมาจากประเทศศรีลังกา ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

เนปาลมีความศรัทธาเรื่องพระพุทธเจ้ามานานแล้ว แม้ในเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช ณ กรุงกบิลพัสดุ์ได้จารึกไว้ตอนหนึ่งว่า พระเจ้าเทานัมปิยะทัสสี เมื่อทรงครองราชย์ได้ 14 ปี ได้ทรงขยายสถูปพระโกนาคมพุทธเจ้าให้ใหญ่ขึ้นสองเท่าและเมื่อทรงครองราชย์ได้ 20 ปี ได้เสด็จมาบูชาด้วยพระองค์เอง และได้โปรดให้ตั้งเสาศิลานี้ไว้ พระนามโกนาคมที่ปรากฏอยู่ ณ ศิลาจารึกดังกล่าวก็คือพระนามโกนาคมพุทธเจ้าที่กล่าวถึงในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ นอกจากนั้นยังมีเสาหินของพระเจ้าอโศกอีกต้นหนึ่งที่ โคติหะวา ในกรุงกบิลพัสดุ์ที่ยังได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้ากกุสันธะ นับได้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าคติการนับถืออดีตพระพุทธเจ้ามีมานานแล้วในประเทศเนปาล นอกจานี้ในวัดของเนปาลยังมีรูปเคารพของพระพุทธเจ้าทีปังกร และอธิพุทธ อีกมากมายซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวเนปาลมีศรัทธาต่ออดีตพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมาหาราชแล้ว


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กหญิงรัชธิดา สังข์ทอง เลขที่20 ม.3/6
2.เด็กหญิงพรทิพา พลท้าว เลขที่22 ม.3/6
3.เด็กหญิงมณีรัตน์ คลังระหัด เลขที่25 ม.3/6
4.เด็กหญิงปิยาภัทร จวงจันทร์ เลขที่30 ม.3/6
5.เด็กหญิงสุมิตรา โพธิ์มิ เลขที่31 ม.3/6

6.เด็กหญิงเบญจมาศ คุ้มภัย เลขที่34 ม.3/6
7.เด็กหญิงรมณ๊ ม่วงสอน เลขที่37 ม.3/6
8.เด็กหญิงชุตินันท์ กองสินอยู่ เลขที่38 ม.3/6
9.เด็กหญิงดวงกมล งามหนัก เลขที่39 ม.3/6
10.เด็กหญิงมณินทร สฤษฏ์อังกูร เลขที่40 ม.3/6
11.เด็กหญิงศุภิสรา เต่าแก้ว เลขที่32 ม.3/6