พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางเกาหลีในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ว่า ในรัชกาลพระเจ้ากิมเมจิจักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยพระเจ้าเซมาโว แห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้ากิมเมจิพร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระเจ้ากิมเมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ทรงรับด้วยความพอพระทัยทั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น แต่ภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วพระจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาเสื่อมลง จนถึงสมัยของจักรพรรดินีซุยโก ได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พ.ศ. 1135 เจ้าชายพระองค์นี้ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นต่างแข่งขันกันสร้างวัดในพระพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่ายุคโฮโก คือยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ เจ้าชายโชโตกุได้ทรงประกาศธรรมนูญ 17 มาตรา ประกาศหลักสามัคคีธรรมของสังคม ด้วยการเคารพเชื่อถือพระรัตนตรัย เจ้าชายโกโตกุสิ้นพระชนม์ลง หลังจากนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย พระพุทธศาสนาก็ยิ่งเสื่อมลง เพราะนโยบายการปกครองประเทศบีบบังคับทางอ้อมจนถึงยุคเมอิจิ ลัทธิชินโตได้รับความนิยมนับถือแทนพระพุทธศาสนา ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได (เทียนไท้) นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ชยาน หรือ ฌาน) นิกายนิชิเรน
การนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์