การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลีย

1.พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย

ชาวพุทธในออสเตรเลียยุคแรก เป็นชาวเอเชียที่เข้าไปทำงานในรัฐต่างๆ โดยเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2391 กลุ่มแรงงานชาวจีนจึงเป็นชาวเอเชียกลุ่มแรกที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปแรงงานเหล่านี้เข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมขุดทองของรัฐวิกตอเรีย (Victorian gold fields) เพราะในช่วงนั้นเป็นยุคที่ชาวโลกกำลังตื่นทองคำ (Gold Rush) ต่อมาปี พ.ศ.2399 จึงได้สร้างวัดขึ้นที่ทางตอนใต้ของเมืองเมลเบิร์น วัดนี้มีหลากหลายวันธรรมคือ ทั้งลัทธิเต๋า ขงจื้อ รวมทั้งเทพเจ้าและโหราศาสตร์ต่างๆ สืบเนื่องจากชาวจีนเหล่านี้ไปทำงานชั่วคราว ภายหลังวัดจึงต้องปิดตัวลง

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2410 กลุ่มชาวพุทธจากประเทศญี่ปุ่นหลายกลุ่มได้เข้าไปในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นกลุ่มของนักกายกรรมและนักมายากล ได้เข้าไปอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษโดยรวมกลุ่มกันอยู่ที่แหล่งอุตสาหกรรมแถบนอร์เทิร์นออสเตรเลีย พระพุทธศาสนาที่นำเข้าไปจากประเทศญี่ปุ่น เป็นมหายานนิกายชินโต จากนั้นในปี พ.ศ.2413 ชาวพุทธจากศรีลังกาได้เข้าไปทำงานในไร่อ้อยที่รัฐควีนส์แลนด์ และสร้างวัดนิกายเถรวาทขึ้นในรัฐนั้นที่

ต่อมาในปี พ.ศ.2525 ชาวศรีลังกาก็ได้เข้ามาสมทบอีกหนึ่งกลุ่มประมาณ 500 คน ชาวพุทธศรีลังกาเหล่านี้ได้ช่วยกันปลูกต้นโพธิ์ขึ้น ซึ่งมีอยู่ 2 ต้นที่ยังคงเจริญเติบโตยั่งยืนควบคู่พระพุทธศาสนามาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็มีอยู่พอสมควร เช่น พระพุทธศาสนา อิสลามสินดูและยิว ทั้งนี้เพราะออสเตรเลียให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา จากการสำรวจผู้นับถือศาสนาในปี พ.ศ.2544 พบว่าพุทธศาสนิกชนมีอยู่ประมาณ 357,813 คน และในปี พ.ศ.2549 มีศูนย์ทางพระพุทธศาสนาอยู่ประมาณ 412 ศูนย์ แม้จำนวนพุทธศาสนิกชนในออสเตรเลียจะยังมีปริมาณน้อย แต่ก็มีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในทุกศาสนา

2.พระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์

สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกับของประเทศออสเตรเลีย แต่พระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์ยังไม่รุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับเหมือนในประเทศออสเตรเลีย ส่วนใหญ่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะดำเนินการโดยพระภิกษุสงฆ์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพุทธสมาคมแห่งเมืองโอคแลนด์

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์

ผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์ยังไม่มากนัก ซึ่งส่วนมากจะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ เช่น เวลลิงตัน ไครสต์เชิร์ช ดูเนดิน โอโตกา ปัจจุบันมีวัดไทยหลายวัด ได้แก่ วัดญาณประทีป(ในสังฆราชูปถัมภ์) ที่เมืองโอกแลนด์ วัดโพธิญาณาราม กรุงเวลลิงตัน


โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด็กหญิงรัชธิดา สังข์ทอง เลขที่20 ม.3/6
2.เด็กหญิงพรทิพา พลท้าว เลขที่22 ม.3/6
3.เด็กหญิงมณีรัตน์ คลังระหัด เลขที่25 ม.3/6
4.เด็กหญิงปิยาภัทร จวงจันทร์ เลขที่30 ม.3/6
5.เด็กหญิงสุมิตรา โพธิ์มิ เลขที่31 ม.3/6

6.เด็กหญิงเบญจมาศ คุ้มภัย เลขที่34 ม.3/6
7.เด็กหญิงรมณ๊ ม่วงสอน เลขที่37 ม.3/6
8.เด็กหญิงชุตินันท์ กองสินอยู่ เลขที่38 ม.3/6
9.เด็กหญิงดวงกมล งามหนัก เลขที่39 ม.3/6
10.เด็กหญิงมณินทร สฤษฏ์อังกูร เลขที่40 ม.3/6
11.เด็กหญิงศุภิสรา เต่าแก้ว เลขที่32 ม.3/6