ใน พ.ศ.๙๗๖ สมัยพระเจ้าลาโธ โธรี เย็นเช ได้นำคัมภีร์พระพุทธศาสนา และพระพุทธรูปมาเป็นเครื่องบรรณาการ
คนทิเบตจึงได้รู้จักพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะชาวทิเบตยังมีความเชื่อเรื่องทูตผีปีศาล
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ สมัยพระเจ้าสรอนสันคัมโป ทรงแผ่ขยายอำนาจไปยังจีนและเนปาล พระเจ้าถังไท่จง
และซึ่ว ต่างพระราชทานพระธิดาให้เป็นพระมเหสี เพื่อผูกสัมพันธไมตรี พระองค์ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่
พ.ศ.๙๗๖ และประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี ๒พระองค์ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน
ใน พ.ศ. ๑๒๙๘-๑๓๔๐ กษัตริย์ที่ ๕ นับจากพระเจ้าสรอนสันคัมโป ได้อาราธนาพระศานตรักษิตมาเผยแผ่หลักคำสอนอันบริสุทธิ์
แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะชาวทิเบตยังมีความเชื่อเรื่องอำนาจภูตผี พระศานตรักษิตจึงกลับไปอาราธนาพระปัทมสัมภวะให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิตันตระ
ซึ่งเน้นเวทมนตร์และคาถาอาคม ทำให้ถูกกับชาวทิเบต ในขณะนั้นชาวทิเบตนับถือพระปัทมสัมภวะว่าเป็น
คุรุรินโปเช ท่านได้สร้างวัดชื่อ วัดสัมเย พระพุทธศาสนาลัทธิตันตระก็เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าลางทรมาที่ทรงถือลัทธิภูตผีครองราชย์
ได้ทำลายว้ดวาอารามที่สำคัญ ต่อมาพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์
ใน พ.ศ.๑๖๐๐ พระพุทธศาสนาจากอินเดียประดิษฐานมั่นคงในทิเบต มีนิกายแตกแยกออกไปมาก โดยมีพระทีปังกรศรีชญาณ
จากแค้นพิหาร เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบตคำสอนแบบโยคาจารที่ผสมผสานกันระหว่างมหายานและหีนยาน
บังคับให้พระสงฆ์ถือพรมหมจรรย์และไม่สนับสนุนไสยศาสตร์ในปลายยุคนี้
ใน พ.ศ.๒๐๘๙ มีกษัตริย์มองโกลนามว่า อัลตัลข่าน ได้พบประมุขสงฆ์ของนิกายเกลุกแล้วเกิดความเลื่อมใส
มีการดัดแปลงวัดของนิกายอื่นในการปกครองและทิ้งร่าง ให้เป็นวัดนิกายเกลุกพระองค์ทรงมอบตำแหน่ง
ทะไลลามะ ให้นับว่าเป็นต้นกำเนิดทะไลลามะครั้งแรก
สมัยทะไลละองค์ที่ ๑๔ เกิดความผันผวนทางการเมืองจึงลี้ภัยไปจีน เมื่อจีนปฏิวัติท่านก็กลับทิเบต
และปิดประเทศ ต่อมาจีนยึดทิเบต ภิกษุลดลงอย่างมาก องค์ทะไลลามะได้ลี้ภัยไปประเทศอินเดียและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตที่นี่
และเป็นศูนย์รวมใจชาวทิเบตในต่างแดน ในช่วงนี้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบทิเบตไปทั่วโลก
ทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนามาก พระพุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน
พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อชาวทิเบตมาก ซึ่งพบเห็นได้ในแทบทุกที่ของทิเบต
ตลอดทั้งวันฆราวาสก็จะถวายอาหาร ดอกไม้ธูปเทียน หรือเงิน
ในทิเบตมีพิธีเฉลิมฉลองมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อันเป็นที่เคารพยิ่งของชาวทิเบต