พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี

ชาวเยอรมันให้ความสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนากลุ่มแรก นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสติคเกอร์ นักปราชญ์ชาวเยอรมันได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อเผยแผ่พระพุทธคศาสนาขึ้นที่เมืองไลพ์ซิก ในประเทศเยอรมัน เมื่อ พ.ศ.2446 ต่อมามีการจัดพิมพ์หนังสือ วารสารและจุลสารด้านพระพุทธศาสนาออกเผยแพร่ นอกจากนี้ยังมีการจัดปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นประจำ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระพุทธศาสนาในเยอรมนีมีความซบเซามาก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ชาวเยอรมันเริ่มบูรณะวัดวาอาราม ความสนใจในพระพุทธศาสนามีมากขึ้น ใน พ.ศ.2491 ในสมาคมมหาโพธิในศรีลังกาได้รับพุทธสมาคมที่เมืองมิวนิกเป็นสาขาทำให้พุทธสมาคมอื่นๆในเยอรมนีมีการประสานงานกับศรีลังกา

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี ปัจจุบันในประเทศเยอรมันมีผู้นับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่ในเมืองสำคัญๆ เพราะเป็นที่ตั้งของพุทธสมาคมและองค์กรทางพระพุทธศาสนา เช่น ฮัมบูร์ก เบอร์ลิน มิวนิก นอกจากนี้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาเยอรมัน รวมถึงมีการสร้างศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน และยังมีวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดพุทธวิหาร วัดไทยมิวนิค



โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด้กชายสุรศักดิ์ เบ้าเหมือน ม.3/2 เลขที่ 10
2.เด็กชายวรากร บุตรตะ ม.3/2 เลขที่ 16
3.เด็กชายอนุเทพ มาเเพ ม.3/2 เลขที่ 17
4.เด็กหญิงกันติชา จำศรี ม.3/2 เลขที่ 18
5.เด็กหญิงยุวดี วงศ์อาษาม.3/2 เลขที่ 22
6.เด็กหญิงสุธิภรณ์ พลหาร ม.3/2 เลขที่ 24
7.เด็กหญิงชนัญธิดา จันทร์บำรุงม.3/2 เลขที่ 26
8.เด็กหญิงอรัญญา ประจันทร์ ม.3/2 เลขที่ 28
9.เด็กหญิงพรชนัดดา ยอดวงค์ ม.3/2 เลขที่ 37
10.เด็กหญิงปทิตตา พลหาร ม.3/2 เลขที่ 38