การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียสู่ลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 ตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มาด้วยกัน 9 สาย มีสาย1 มายังเกาะศรีลังกาโดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงอุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด เรียกว่า “ วัดมหาวิหาร ” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท เมื่อประมา พ.ศ. 400 รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามนีอภัย ได้มีพวกทมิฬเข้ามาตีทำให้เสียราชบัลลังก์ เสด็จลี้ภัยไปซ่องสุมกำลังระหว่างนั้นทรงได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติสสะต่อมากลับมาครองราชย์อีกครั้งได้สร้างวัดถวาย คือวัดอภัยคีรีวิหาร จนทำให้พระภิกษุชาวมหาวิหารไม่พอใจ จนเป็นเหตุให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมหาวิหาร กับคณะอภัยคีรีวิหาร เมื่อ พ.ศ. 1697 - พ.ศ. 1730 พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 (เป็นพระโอรสของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1) ทรงเป็นมหาราชที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของลังกา ทรงปกครองบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อย ในด้านการพระศาสนาทรงชำระการพระศาสนาให้บริสุทธิ์ยังคณะสงฆ์ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก ทรงสร้างวัดวาอารามเป็นยุคที่มีศิลปกรรมงดงามเพื่อให้สงบสุขและลังการได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2294 (พ.ศ. 2293 ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อสามเณรสรณังกรได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป มีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า เดินทางมาประเทศลังกา มาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี้ ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้น อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น ในสมัยนี้ได้มีนิกายเกิดขึ้นในลังกา 3 นิกาย คือ 1.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ 2.นิกายอมรปุรนิกาย 3.นิกายรามัญ นิกายทั้ง 3 นี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

ประเทศศรีลังกามีการนับถือศาสนาที่หลากหลาย แต่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา คือร้อยละ 69.3 รองลงมาคือศาสนาฮินดู ร้อยละ 15.5 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 7.6% คริสต์ศาสนา ร้อยละ 7.5 และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.1



โรงเรียนหนองไผ่
700 หมู่ 6 ต.หนองไผ่
อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
ผู้จัดทำ
1.เด้กชายสุรศักดิ์ เบ้าเหมือน ม.3/2 เลขที่ 10
2.เด็กชายวรากร บุตรตะ ม.3/2 เลขที่ 16
3.เด็กชายอนุเทพ มาเเพ ม.3/2 เลขที่ 17
4.เด็กหญิงกันติชา จำศรี ม.3/2 เลขที่ 18
5.เด็กหญิงยุวดี วงศ์อาษาม.3/2 เลขที่ 22
6.เด็กหญิงสุธิภรณ์ พลหาร ม.3/2 เลขที่ 24
7.เด็กหญิงชนัญธิดา จันทร์บำรุงม.3/2 เลขที่ 26
8.เด็กหญิงอรัญญา ประจันทร์ ม.3/2 เลขที่ 28
9.เด็กหญิงพรชนัดดา ยอดวงค์ ม.3/2 เลขที่ 37
10.เด็กหญิงปทิตตา พลหาร ม.3/2 เลขที่ 38