เอาจริง ๆ แล้ว Editor หรือเรียกกันง่ายๆ เลยก็คือโปรแกรมที่เราจะนำมาใช้ในการเขียนภาษา PHP ค่อนข้างที่จะมีหลากหลายมาก ไล่ไปตั้งแต่
- Notepad (สำหรับสาย Hardcore เขียนโค้ดแบบดิบ ๆ เลยมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เวลาเข้าตาจนไม่มีอะไรจะใช้ก็ได้ตัวนี้แหละ)
- EditPlus (อันนี้สายเก๋า มีตัวช่วยเพิ่มขึ้นมาหน่อย)
- Sublime Text (อันนี้ตัวช่วยก็เยอะ เบาเครื่องมาก)
- Notepad++
- Visual Studio Code (แนะนำตัวนี้เลย Extension เยอะ)
แล้วก็มีอีกหลายตัวที่หลายคนนิยม ก็อย่างที่บอกแหละครับ ชอบตัวไหนก็เลือกตัวนั้นเลยลองทุกตัวก่อนก็ได้ แต่สำหรับครู ที่ใช้งานแล้วติดใจมากก็ Visual Studio Code หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า VS Code เพราะเบาเครื่องมาก เรียกใช้งานได้ไว มีตัวช่วยให้เราเขียน HTML CSS PHP ได้ไว แล้วก็สามารถนำไปประยุกต์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ ได้มากมาย ที่สำคัญเป็นโปรแกรมฟรี ที่ Microsoft ทำออกมากแจกให้ได้ใช้งานกัน มี Update บ่อยมาก แทบจะทุกอาทิตย์เลย ป้ายยาขนาดนี้แล้วก็ไป Download มาลองใช้งานดูเหอะ แล้วจะติดใจ
สำหรับใครที่ครูป้ายยาเรียบร้อยแล้วก็ไป Download มาเรียบร้อยแล้วก็มาลองติดตั้งพร้อมๆ กันเลยนะ
1.สำหรับใครที่ยังไม่ได้ Download ไฟล์สำหรับที่จะใช้ในการติดตั้ง VS Code มาก็สามารถไปคลิกลิงค์ด้านบนที่ท้ายชื่อโปรแกรมได้เลยก็จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 แบบด้วยกันก็คือ Window Linux และ Mac ก็เลือกได้ที่จะใช้กับเครื่องของเราได้สำหรับครูใช้เป็น Window แบบ 64 Bits
2. หลังจากที่ Download ตัวติดตั้งมาเรียบร้อยแล้วก็ดับเบิลคลิกเพื่อทำการติดตั้งได้เลย ซึ่งการติดตั้งก็ไม่ยากอะไรลองทำตามดูนะครับ หลังจากดับเบิ้ลคลิกตัวติดตั้งที่เราได้โหลดมาแล้วก็จะเจอกับหน้านี้ซึ่งก็คือหน้าแสดงข้อตกลงในการใช้งาน ก็ให้เราเลือก I Accept the Agreement แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
2. เลือกที่ที่เราต้องการจะติดตั้งโปรแกรม VS Code ลงในเครื่องของเราเอง แนะนำว่าไม่ต้องเปลี่ยน ครับ แล้วก็คลิก Next ต่อไป
3. หน้านี้จะเป็นหน้าที่จะให้เราสร้าง Short cut เอาไว้บนเมนู ก็แนะนำให้สร้างเอาไว้ดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้เรียกใช้งานได้ง่ายมากขึ้นแต่ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Dot’t create a Start Menu Folder แล้วก็คลิกปุ่ม Next ต่อไป (ใกล้เสร็จละครับอย่างพึ่งเบื่อนะ)
4. สำหรับหน้านี้ห้ามพลาดเด็ดขาดเลยครับ แนะนำว่าให้เลือกให้หมดทุกรายการ เพื่อที่ว่าต่อไปเราจะใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
– Create a desktop icon (สร้าง icon ไว้บนหน้าจอเราเลย)
– Add “Open with Code” action to windows Explorer file context menu (เพิ่มเมนูสำหรับเปิดเอาไว้ตอนคลิกขวาที่ไฟล์ที่รองรับ)
– Add “Open with Code” action to windows Explorer directory context menu (เพิ่มเมนูสำหรับเปิดเอาไว้ตอนคลิกขวาที่โฟล์เดอร์ที่รองรับ)
– Register Code as an editor for support file types (คือการลงทะเบียนโปรแกรม VS Code เป็นโปรแกรมหลักที่ใช้ในการแก้ไขไฟล์ที่โปรแกรมรองรับ)
– Add to PATH (requires shell restart) คือการเพิ่มการเรียกใช้งาน shell restart อันนี้ส่วนมากเอาไว้ใช้เขียนกับโปรแกรมอื่นๆ นะครับเลือกไว้ไม่เสียหายดีกว่าจะเขียนแล้วต้องติดตั้งใหม่
5. หลังจากผ่านมา 4 ขั้นตอนหน้านี้ก็จะสรุปการตั้งค่าของเราว่าเป็นยังไงเราเลือกอะไรไปบ้าง ซึ่งก็คือขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะทำการติดตั้งโปรแกรมแล้วละ หลังจากนี้ก็เตรียมหากาแฟ ชา หรืออะไรก็ตามที่เราชอบมาจิบนั่งดูโปรแกรมติดตั้งทำงานได้เลยหลังจากได้แล้วก็คลิกปุ่ม Install แล้วก็เริ่มจิบได้เลย (ปล. ไม่นานเหมือนตอนติดตั้ง XAMPP)
6. หลังจากคลิกปุ่ม Install แล้วโปรแกรมจะทำการติดตั้งไปจนเสร็จก็ไม่นานเท่าไหร่ กินน้ำยังไม่ทันหมดแก้วก็เสร็จแล้ว
หลังจากที่โปรแกรมติดตั้งทำงานมาสักพักก็จะพบกับหน้านี้ ก็แสดงว่าเราติดตั้งโปรแกรม VS Code เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเรากดปุ่ม Finish เลยตัวโปรแกรมก็จะทำงานขึ้นมาให้เราเห็นหน้าต่างของโปรแกรมที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังให้เราเห็นตามภาพ
หลังจาก Web Server, PHP และ Editor พร้อม บทความต่อไปเราก็จะมาเริ่มทำการเขียนภาษา PHP เพื่อเริ่มทำการทดสอบกันว่าที่เราได้ติดตั้งไปทั้งหมดสามารถใช้งานได้หรือเปล่าน่า (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะผ่านแน่นอน)